วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส (อังกฤษ: Eucalyptus) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด
ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ. 2444 [1]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส

โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัสซึ่งประกอบด้วย เปลือกไม้ซึ่งอยู่ด้านนอกสุดและเนื้อไม้ที่ซ่อนอยู่ด้านใน โดยในส่วนของเนื้อไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ “กระพี้” หรือเนื้อไม้ด้านนอกซึ่งอยู่ติดกับเปลือกไม้และเป็นที่อยู่ของท่อลำเลียงน้ำ (xylem) จำนวนมาก
ส่วนที่สอง คือ “แก่น” หรือเนื้อไม้ด้านในสุดซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระพี้
เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มที่พื้นที่ของกระพี้ก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับ การสร้างท่อลำเลียงน้ำใหม่ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำอันเก่าหลังจากใช้งานมานานก็จะมีการสะสมของสารต่างๆ ภายในเซลล์ จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นแก่นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้อีก ซึ่งยูคาลิปตัสนั้นจะมีแก่นก็ต่อเมื่ออายุเกิน 15 ปีขึ้นไป
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่มีพื้นที่ของกระพี้มากจึงหมายถึงการมีพื้นที่ ลำเลียงน้ำขึ้นสู่เรือนยอดมากตามไปด้วย เนื่องจากแนวโน้มการดูดน้ำของต้นไม้แต่ละต้นมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ ของกระพี้ในลำต้นเป็นสำคัญ
เนื่องจากยูคาลิปตัสจะมีระบบรากที่แผ่ขยายเร็วและสามารถหยั่งลงไปในดิน ได้ในระดับลึก จึงมีประสิทธิภาพในการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำใต้ดินได้มากกว่าพืชชนิดอื่น[2]

[แก้] ข้อมูลยูคาลิปตัสต่อการใช้น้ำ

ยูคาลิปตัสเป็นแค่ต้นไม้ทั่วไปเท่านั้น ไม่ทำให้พื้นดินกลายเป็นทะเลทรายแน่นอน มีการปลูกจริงในหลายพื้นที่ และมีการทดลองในเชิงวิชาการก็ได้ข้อพิสูจน์แล้ว ประกอบกับประเทศไทยเราไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ให้เกษตรกร หรือนายทุนทำการปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นโดยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ไม้เหล่านี้จึงปลูกอยู่อย่างกระจัดกระจาย หรือบางที่เกษตรกรก็นำไปปลูกตามพื้นที่ว่างเปล่าในหัวไร่คันนาที่ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ การปลูกไม้นี้กลับเป็นการช่วยให้พื้นที่ที่ปลูกพืชอื่นไม่ได้ ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยให้รักษาดินได้ดีกว่าการปล่อยพื้นที่รกร้างว่างเปล่า [3]
จากการศึกษาผลกระทบของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบน ดิน พบว่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดสามารถแสดงออกมาในรูปของอัตราส่วนการคายน้ำ ซึ่งเป็นค่าของปริมาณน้ำที่พืชใช้ในการสร้างวัตถุแห้งหนักหนึ่งกรัม ประสิทธิภาพในการใช้น้ำของพืชจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชพรรณ ดังนั้นอัตราส่วนการคายน้ำของพืชชนิดใด มีค่าต่ำแสดงว่าพืชชนิดนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำได้สูง (วิสุทธิ์,2530) โดยประสิทธิภาพการใช้น้ำคือการสร้างมวลสารจำนวนหน่วยที่เท่าๆกัน ไม้แต่ละชนิดใช้ปริมาณน้ำมากน้อยเพียงใดนั้น ในเรื่องนี้ Dabral (1970) ได้ทำการศึกษาที่สถาบันวิจัยป่าไม้ เดนราคูน ประเทศอินเดีย ด้วยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้น้ำของไม้ 4 ชนิด คือ ไม้สนเขา ไม้พอพูลัส ไม้พยุง และไม้ยูคาลิปตัส ผลการศึกษาพบว่า ในการสร้างมวลสาร 1 กรัม พรรณไม้ต่างๆ ข้างต้นจะต้องใช้ปริมาณน้ำ 8.87, 3.04, 2.59 และ 1.41 มิลลิลิตรต่อกรัม ตามลำดับ จากการทดลองแสดงว่าไม้ยูคาลิปตัสมีประสิทธิภาพการใช้น้ำดีที่สุด เนื่องจากใช้น้ำน้อยที่สุดในการสร้างมวลชีวภาพต่อกรัม ซึ่งสอดคล้องกับการสรุปความของ เริงชัย (ม.ป.ป.) ที่ว่า “ไม้โตเร็วชนิดต่างๆนั้น ต้องการความชื้นเพียงน้อยนิด ก็สามารถสร้างชีวมวล ทั้งต้น, ราก และใบได้มากมาย เมื่อเทียบกับชนิดไม้โตช้า” และ พงศ์ (2529) รายงานลักษณะเด่นของไม้ยูคาลิปตัสคือความสามารถพิเศษในการรักษาสมรรถนะในการ ผลิตชีวมวลไว้ได้เมื่อน้ำในดินมีน้อยลง ผลการทดลองพบว่า ในขณะที่น้ำในดินลดลง 66 และ 84% การผลิตชีวมวลจะลดลงเพียง 25 และ 38 % ตามลำดับเท่านั้น ความสามารถในการปรับตัวเองไม้ยูคาลิปตัสดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักฐานที่ช่วยอธิบายได้ว่าไม้ยูคาลิปตัสใช้น้ำในการผลิตชีวมวล (การเจริญเติบโต) น้อยกว่าไม้อื่นๆ ซึ่งแสดงประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
ชนิดไม้ การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวล (ลิตร/กรัม)
Eucalyptus tereticornis ยูคาลิปตัส เทเรติคอร์นิส 0.48
Syzygium cumini หว้า 0.50
Albizzia lebbek พฤกษ์ 0.55
Acacia auriculaefarmis กระถินณรงค์ 0.72
Dalbergia sissoo ประดู่แขก 0.77
Pongamia pinnata - 0.88

นอกจากนี้เรื่องการใช้น้ำของยูคาลิปตัสที่มีผลต่อระดับน้ำใต้ดิน ที่ถูกโจมตีว่าเมื่อปลูกยูคาลิปตัสที่ใดบ่อน้ำหรือบ่อบาดาลจะแห้ง ซึ่งจากการศึกษาของพิทยา (2530) โดยทำการทดลองขุดบ่อในแปลงซึ่งปลูกไม้ 2 ชนิดคือ แปลงไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินณรงค์ เปรียบเทียบกับในที่โล่ง จำนวน 4 บ่อ ปรากฏว่าเมื่อขุดบ่อได้ลึก ประมาณ 2.60 เมตร ก็ถึงระดับน้ำใต้ดินในบ่อทั้ง 4 แห่ง และทำการบันทึกระดับน้ำทุก ๆ 5 วัน ตลอดช่วงฤดูแล้วตั้งแต่เดือน มกราคม - เมษายน 2529 พบว่าการลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของทั้ง 3 บริเวณ ไม่มีความแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3 และ 4 โดยสรปได้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำใต้ดินในบ่อลดลงเฉลี่ยวันละ 1.50 เซนติเมตร เท่าๆ กัน ทั้งในสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินณรงค์ ที่มีอายุ 7 ปี และในที่โล่งตลอดช่วงฤดูแล้งระหว่างวันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 โดยระดับน้ำอยู่ลึกจากผิวดินมีค่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการอ้างของ จอห์น (2528) ซึ่งท่านได้อ้างการศึกษาของสถาบันวิจัยป่าไม้ เตราดู ประเทศอินเดียที่ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัส เทเรทติคอร์นิสจะหยั่งลงไปในดินลึกถึง 3 เมตรและเจริญเติบโตตามแนวรัศมี 3.5 เมตร จากลำต้น ส่วนรากของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีสที่อายุ 5 ปี มีความลึกของรากน้อยกว่า 3 เมตรแต่การเติบโตของรากในแนวราบจะเป็น 9 เมตร ซึ่งสรุปได้ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัสมีการปรับตัวที่จะใช้น้ำฝนในส่วนของ ผิวดินมากกว่าจะใช้น้ำใต้ดินในระดับความลึกมากๆ
ตารางที่ 2 การลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของสวนป่าอายุ 7 ปี เปรียบเทียบกับในที่โล่งท้องที่จังหวัดศีรษะเกษ (หน่วย : ซม./วัน)
เดือน ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส กระถินณรงค์ ที่โล่ง
มกราคม 2529 1.60 1.80 1.70
กุมภาพันธ์ 2529 0.50 1.80 1.70
มีนาคม 2529 1.47 1.47 1.54
เมษายน 2529 1.10 1.05 0.95
เฉลี่ย 1.46 1.49 1.46
ตารางที่ 3 ระดับน้ำในบ่อลดลงจากผิวดินในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 (หน่วย : เมตร)
ระดับน้ำ ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส กระถินณรงค์ ที่โล่ง
ครั้งแรก 2.85 2.79 2.67
ครั้งสุดท้าย 4.06 4.00 3.82
ระดับที่ลดลง 1.21 1.21 1.15
จากข้อมูลและการวิเคราะห์ข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
• ไม้ยูคาลิปตัสจัดได้ว่าเป็นไม้ที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมาก เมื่อเทียบกับการสร้างชีวมวลที่เท่า ๆ กัน
• ไม้ยูคาลิปตัสมีการสร้างชีวมวลในปริมาณที่มากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ก็อาจจะมีผลให้มีการใช้น้ำมากขึ้นตามส่วน ซึ่งก็เป็นไปตามปกติของพืชและไม้โตเร็วทั่วไป
• อัตราการคายน้ำและระเหยน้ำของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสนั้น อยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป เมื่อเทียบกับไม้โตเร็วอื่นๆ
ข้อกล่าวอ้างว่าไม้ยูคาลิปตัสเปรียบเสมือนต้นไม้สูบระบายน้ำ ที่ทำให้หนอง บึง และแผ่นดินแห้งแล้งนั้น มีหลักฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าระดับน้ำที่ลดลงเท่ากับการปลูกพืช อื่น และ ดีกว่าในที่โล่ง

[แก้] โครงการ “ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา”

ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดห้องเรียนภาคสนามเรียนรู้การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาและในไร่มัน สำปะหลัง ภายใต้โครงการ “การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ที่ดินด้วยการปลูกไม้โตเร็ว” ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมการใช้ไม้ยูคาลิปตัสมาก โดยใช้แม่ไม้จำนวน 4 พันธุ์ ใน 2 ท้องที่ (Site) เขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ สายพันธุ์ K51, K59, K7 และ K58 ได้ทำการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาปรับแต่ง เป็นลักษณะของการปลูกพืชควบในระบบวนเกษตร เกษตรกรสามารถปลูกยูคาบนคันนาได้โดยปลูกเป็นแถวเดี่ยว ๆ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2 – 3 เมตร เพื่อเปิดช่องว่างให้นาข้าวในนาได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่และเพียงพอ การปลูกลักษณะนี้แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ปลูกและการดูแล รักษา เพราะชาวนาต้องยกตกแต่งคันนาและบำรุงรักษาต้นข้าวอยู่แล้ว หากคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะตัด ไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 3 ตัน ต่อไร่ เมื่ออายุ 5 ปี นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบมันสำปะหลัง, ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาที่มีระยะห่างต่าง ๆ กัน และปลูกไม้ยูคาลิปตัสในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่พบความเสียหายในเรื่องของการแย่งปุ๋ยพืช อาหารหรือการทำให้ดินเสื่อมสภาพ สามารถจะปลูกพืชสวนครัวหรือพืชชนิดอื่น ๆ ได้ เป็นการใช้พื้นที่เกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะเพิ่มวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมไม้ภายในประเทศ ยังเป็นการเพิ่มรายได้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรในชนบท สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยรวมให้แก่ชุมชนและประเทศอีกด้วย
Eucalyptus melliodora foliage and flowers
Eucalyptus melliodora foliage and flowers

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น