วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาคใต้

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทาง ฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้] การแบ่งพื้นที่

[แก้] ตามราชบัณฑิตยสถาน

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. ตรัง
  4. นครศรีธรรมราช
  5. นราธิวาส
  6. ปัตตานี
  7. พังงา
  1. พัทลุง
  2. ภูเก็ต
  3. ยะลา
  4. ระนอง
  5. สงขลา
  6. สตูล
  7. สุราษฎร์ธานี

[แก้] แบ่งตามยุทธศาสตร์ ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง

[แก้] ภาคใต้ตอนบน

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. นครศรีธรรมราช
  4. พังงา
  5. ภูเก็ต
  6. ระนอง
  7. สุราษฎร์ธานี

[แก้] ภาคใต้ตอนล่าง

  1. ตรัง
  2. นราธิวาส
  3. ปัตตานี
  4. พัทลุง
  5. ยะลา
  6. สตูล
  7. สงขลา

[แก้] เมืองใหญ่ของภาคใต้

  1. เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย
    หาดใหญ่
  2. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย
    ไฟล์:SRT.gif
    สุราษฎร์ธานี
  3. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย
    ไฟล์:NST.gif
    นครศรีธรรมราช
  4. เทศบาลนครภูเก็ต เป็นอันดับที่ 16 ของประเทศไทย
    ภูเก็ต
  5. เทศบาลนครสงขลา เป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย
    สงขลา
  6. เทศบาลนครยะลา เป็นอันดับที่ 20 ของประเทศไทย
    ไฟล์:YL.gif
    ยะลา
  7. เทศบาลนครตรัง เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศไทย
    ไฟล์:TR.gif
    ตรัง
  • อ้างอิงมาจากจำนวนประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] สภาพภูมิประเทศภาคใต้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขากรุงเทพ ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

[แก้] สภาพภูมิอากาศ

ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุดเคยขึ้นสูงสุดที่ จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส

[แก้] ดูเพิ่ม

แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน และตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ไฟล์:South Map Thailand.gif
แผนที่ภาคใต้แบ่งตามจุดยุทธศาสตร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น