วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (อังกฤษ: FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติสเปน ที่ชนะในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 และจะเข้ารักษาแชมป์ เข้าสู่รอบสุดท้าย ในการแข่งขันครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในประเทศบราซิล
รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน การแข่งขันประกอบด้วย 32 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในสถานที่จัดงานของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน การแข่งขัน 32 ทีมสุดท้ายนี้เรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น จะในปัจจุบันต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อตัดสินว่าทีมใดที่จะร่วมเข้าแข่งกับทีมประเทศเจ้าภาพ
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 19 ครั้ง มีชาติที่ชนะในการแข่งขัน 8 ชาติ ทีมชาติบราซิลชนะ 5 ครั้ง และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันในทุกครั้ง ส่วนทีมชาติอื่นที่ชนะการแข่งขันคือ ทีมชาติอิตาลี ชนะ 4 ครั้ง, ทีมชาติเยอรมนี ชนะ 3 ครั้ง, ทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติอุรุกวัย ชนะ 2 ครั้ง และ ทีมชาติอังกฤษ ทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติสเปน ชนะ 1 ครั้ง
การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี[1]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

[แก้] การแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน

นัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในการแข่งขันที่กลาสโกว์ ในปี ค.ศ. 1872 ระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ[2] และในการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างประเทศครั้งแรกที่ชื่อ บริติชโฮมแชมเปียนชิป ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884[3] กีฬาฟุตบอลเติบโตในส่วนอื่นของโลกนอกเหนือจากอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีการแนะนำกีฬาและแข่งขันประเภทนี้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และ 1904 และที่กีฬาโอลิมปิกซ้อน 1906[4]
หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ได้มีการพยายามจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 1906 ที่สวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในยุคแรก ๆ แต่ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่าอธิบายว่าการแข่งขันนั้นล้มเหลวไป[5]
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ในกรุงลอนดอน ฟุตบอลถือเป็นหนึ่งในกีฬาที่แข่งขันอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอล อังกฤษได้ดูแลในการจัดการแข่งขัน โดยผู้แข่งขันเป็นมือสมัครเล่นเท่านั้นและดูเป็นการแสดงมากกว่าการแข่งขัน โดยบริเตนใหญ่ (แข่งขันโดยทีมฟุตบอลสมัครเล่นทีมชาติอังกฤษ) ได้รับเหรียญทองในการแข่งขัน ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ที่สต็อกโฮล์มก็มีจัดขึ้นอีก โดยการแข่งขันจัดการโดยสมาคมฟุตบอลสวีเดน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งแข่งขันฟุตบอลเฉพาะในทีมสมัครเล่น เซอร์โทมัส ลิปตันได้จัดการการแข่งขันที่ชื่อ การแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเซอร์โทมัสลิปตัน จัดขึ้นในตูรินใน ปี ค.ศ. 1909 เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสร (ไม่ใช่ทีมชาติ) จากหลาย ๆ ประเทศ บางทีมเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ การแข่งขันครั้งนี้บางครั้งอาจเรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก[6] มีทีมอาชีพเข้าแข่งขันจากทั้งในอิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่สมาคมฟุตบอลอังกฤษปฏิเสธที่จะร่วมในการแข่งขันและไม่ส่งทีมนักฟุตบอลอาชีพมาแข่ง ลิปตันเชิญสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ จากมณฑลเดอแรม เป็นตัวแทนของอังกฤษแทน ซึ่งสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ชนะการแข่งขันและกลับมารักษาแชมป์ในปี 1911 ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1914 ฟีฟ่าได้จำแนกการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกว่าเป็น "การแข่งขันชิงแชมป์สำหรับมือสมัครเล่น" และลงรับผิดชอบในการจัดการการแข่ง[7] และนี่เป็นการปูทางให้กับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทวีปเป็นครั้งแรก โดยในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 ที่มีทีมแข่งขันอย่างอียิปต์และทีมจากยุโรปอีก 13 ทีม มีผู้ชนะคือทีมเบลเยี่ยม[8] ต่อมาทีมอุรุกวัย ชนะในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกในอีก 2 ครั้งถัดไปคือในปี ค.ศ. 1924 และ 1928 และในปี ค.ศ. 1924 ถือเป็นยุคที่ฟีฟ่าก้าวสู่ระดับมืออาชีพ
สนามกีฬาเอสตาเดียวเซนเตนาเรียว สถานที่การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ที่เมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย
จากความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก ฟีฟ่าพร้อมด้วยประธานที่ชื่อ จูลส์ ริเมต ได้ผลักดันอีกครั้งโดยเริ่มมองหาหนทางในการจัดการแข่งขันนอกเหนือการแข่งขันโอลิมปิก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 ที่ประชุมฟีฟ่าในอัมสเตอร์ดัมตัดสินใจทีจะจัดการแข่งขันด้วยตัวเอง[9] กับอุรุกวัย ที่เป็นแชมเปียนโลกอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง และเพื่อเฉลิมฉลอง 1 ศตวรรษแห่งอิสรภาพของอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1930 ฟีฟ่าได้ประกาศว่าอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก
สมาคมฟุตบอลของประเทศที่ได้รับการเลือก ได้รับการเชิญให้ส่งทีมมาร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากอุรุกวัยที่เป็นสถานที่จัดงาน นั่นหมายถึงระยะทางและค่าใช้จ่ายที่ต้องเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมา จากฝั่งยุโรปมา ซึ่งแท้จริงแล้ว ไม่มีประเทศไหนในยุโรปตอบตกลงว่าจะส่งทีมมาร่วม จนกระทั่ง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน ในที่สุดริเมตจึงสามารถเชิญทีมจากเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 13 ทีม โดยมี 7 ทีมจากทวีปอเมริกาใต้ 4 ทีมจากยุโรป และ 2 ทีมจากอเมริกาเหนือ
2 นัดแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 ผู้ชนะคือทีมฝรั่งเศส และทีมสหรัฐอเมริกา ชนะเม็กซิโก 4–1 และเบลเยี่ยม 3–0 ตามลำดับ โดยผู้ทำประตูแรกในฟุตบอลโลกมาจากลุกแซง โลร็องต์ จากฝรั่งเศส[10] ในนัดตัดสินทีมชาติอุรุกวัยชนะทีมชาติอาร์เจนตินา 4–2 ต่อหน้าผู้ชม 93,000 คนทีเมืองมอนเตวิเดโอ ทีมอุรุกวัยจึงเป็นชาติแรกที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก[11]

[แก้] ฟุตบอลโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากที่เกิดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นแล้ว ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ที่จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส ก็ไม่ด้รวมการแข่งขันฟุตบอลเข้าไปด้วย เนื่องจากความไม่ได้รับความนิยมในกีฬาฟุตบอลในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกันฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้น ทางฟีฟ่าและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องผู้เล่นในฐานะ มือสมัครเล่น ดังนั้นจึงไม่มีการแข่งขันฟุตบอลในเกมนี้[12] แต่ต่อมาฟุตบอลในกลับมาในกีฬาโอลิมปิกใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 แต่ถูกลดความสำคัญลง เพราะความมีชื่อเสียงของฟุตบอลโลก
ประเด็นในการจัดการแข่งขันในช่วงแรกของฟุตบอลโลกที่เป็นความยากลำบากใน การเดินทางข้ามทวีปและสงครามนั้น มีทีมจากอเมริกาใต้บางทีมยินดีที่จะเดินทางไปยุโรปในการแข่งขันในปี 1934 และ 1938 โดยทีมบราซิลเป็นทีมเดียวในอเมริกาใต้ที่เข้าแข่งขันทั้ง 2 ครั้งนี้ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 1942 และ 1946 ได้มีการยกเลิกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองและพักจากผลกระทบของสงครามโลก

[แก้] ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ[13] แต่ก็กลับเข้ามาร่วมในปี ค.ศ. 1946 หลังจากได้รับคำเชื้อเชิญจากฟีฟ่า[14] การแข่งขัน ทีมแชมเปียนอย่างอุรุกวัยก็กลับเข้ามาร่วม หลังจากที่คว่ำบาตรฟุตบอลโลกก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง โดยทีมอุรุกวัยชนะในการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่ชนะประเทศเจ้าภาพบราซิล นัดการแข่งขันนี้เรียกว่า "มารากานาซู" (โปรตุเกส: Maracanaço)
แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด
ในการแข่งขันระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ 1978 มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีม ยกเว้นในปี ค.ศ. 1938 เมื่อออสเตรียรวมเข้ากับเยอรมนี หลังจากรอบคัดเลือก ทำให้มีทีมแข่งขันเหลือเพียง 15 ทีม และในปี ค.ศ. 1950 เมื่ออินเดีย สก็อตแลนด์ และตุรกี ถอนตัวจากการแข่งขัน ทำให้มีทีมร่วมแข่งขันเพียง 13 ทีม[15] ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันส่วนใหญ่เป็นทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ มีส่วนน้อยจากอเมริกาเหนือ แอฟริกา เอเชียและโอเชียเนีย ทีมเหล่านี้มักจะแพ้อย่างง่ายดายกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1982 มีทีมนอกเหนือจากยุโรปและอเมริกาใต้ที่เข้าสอบรอบสุดท้าย คือ ทีมสหรัฐอเมริกา เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1930, ทีมคิวบาเข้ารอบรองชนะเลิศใน ปี ค.ศ. 1938, ทีมเกาหลีเหนือ เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1966 และทีมเม็กซิโกเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1970

[แก้] ขยายเป็น 32 ทีม

การแข่งขันขยายเป็น 24 ทีมในปี ค.ศ. 1982[16] จากนั้นเป็น 32 ทีมในปี ค.ศ. 1998[17] ทำให้มีทีมจากแอฟริกา เอเชียและอเมริกาเหนือเข้ารอบมากขึ้น และในปีครั้งหลัง ๆ ทีมในภูมิภาคเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จมากขึ้น และสามารถติดในรอบก่อนรองชนะเลิศมากขึ้น ได้แก่ ทีมเม็กซิโก เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1986, ทีมแคเมอรูน เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1990, ทีมเกาหลีใต้ได้อันดับ 4 ในปี ค.ศ. 2002, ขณะที่ทีมเซเนกัลและสหรัฐอเมริกา ทั้ง 2 ทีมเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 2002 และทีมกานา เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในปี 2010 แต่ถึงอย่างไรก็ตามทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ก็ยังคงมีความโดดเด่นอยู่ เช่นในปี ค.ศ. 1998 และ 2006 ที่ทีมทั้งหมดในรอบรองชนะเลิศมาจากยุโรปและอเมริกาใต้
ในฟุตบอลโลก 2002 ในรอบคัดเลือก มีทีมเข้าร่วมคัดเลือก 200 ทีม และในฟุตบอลโลก 2006 มีทีมที่พยายามเข้าคัดเลือก 198 ทีม ขณะที่ในฟุตบอลโลก 2010 มีประเทศที่เข้าร่วมรอบคัดเลือก 204 ทีม ซึ่งถือเป็นสถิติเป็นปีที่มีประเทศเข้าคัดเลือกมากที่สุด[18]

[แก้] การแข่งขันอื่นของฟีฟ่า

ในการแข่งขันของฟุตบอลสำหรับผู้หญิง คือ ฟุตบอลโลกหญิง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่ประเทศจีน[19] ฟุตบอลโลกหญิงจะมีการแข่งขันที่เล็กกว่าฟุตบอลของผู้ชาย แต่กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 2007 อยู่ 120 ทีม มากกว่า 2 เท่าของในปี ค.ศ. 1991
กีฬาฟุตบอลนั้นได้มีอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุก ๆ ครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 1896 และ 1932 แตกต่างจากกีฬาประเทศอื่นซึ่งในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิก ทีมที่ร่วมแข่งจะไม่ใช่ทีมระดับสูงสุด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1992 ที่แต่เดิมให้ผู้แข่งขันอายุ 23 ปีเข้าแข่งขัน แต่ก็อนุญาตให้มีผู้เล่นที่อายุมากกว่า 23 ปี จำนวน 3 คนของแต่ละทีม ลงแข่งขันได้[20] ส่วนฟุตบอลหญิงในโอลิมปิก แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 เป็นการแข่งขันทีมชาติเต็มทีม ไม่มีจำกัดอายุ
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นก่อน 1 ปีที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก ในประเทศเจ้าภาพที่จะแข่งขัน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องฟุตบอลโลกที่จะมาถึง เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา เนชันส์คัพ และ ฟุตบอลยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพ[21]
ฟีฟ่าจะจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนระดับนานาชาติ (ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 17 ปี, การแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสร (ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ), และการแข่งขันฟุตบอลอื่นเช่น ฟุตซอล (ฟุตซอลชิงแชมป์โลก) และฟุตบอลชายหาด (ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก)

[แก้] ถ้วยรางวัล

ถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์ ถ้วยรางวัลชนะเลิศฟุตบอลโลก ตั้งชื่อตามประธานฟีฟ่า ชูลส์ รีเมต์ เริ่มใช้ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1930-ฟุตบอลโลก 1974
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1970 ถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์เป็นถ้วยที่มอบให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก เดิมทีเรียกง่ายๆ ว่า เวิลด์คัป (อังกฤษ: World Cup) หรือ คูปดูมอนด์ (ฝรั่งเศส: Coupe du Monde) แต่ในปี ค.ศ. 1946 ได้เปลี่ยนชื่อตามประธานฟีฟ่า ที่ชื่อ ชูลส์ รีเมต์ ที่ได้ริเริ่มการแข่งขันครั้งแรก และเมื่อในปี ค.ศ. 1970 เมื่อทีมบราซิลชนะการแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ได้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์จากการที่ได้แชมป์ 3 สมัย แต่ในปี ค.ศ. 1983 ถ้วยถูกขโมยไปและไม่มีใครได้เห็นอีกเลย[22]
แสตมป์จากเยอรมนี เป็นรูป ถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัป
หลังจากปี ค.ศ. 1970 ก็มีถ้วยรางวัลใหม่ ที่รู้จักในชื่อ ถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัป โดยผู้เชี่ยวชาญของฟีฟ่าที่มาจาก 7 ประเทศ ประเมินจากแบบ 53 แบบ จนสรุปที่ผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวอิตาลีที่ชื่อซิลวิโอ กาซซานิกา (Silvio Gazzaniga) ถ้วยรางวัลใหม่นี้มีความสูง 36 ซม. (14.2 นิ้ว) ทำจากทองคำ 18 กะรัต (75%) น้ำหนัก 6.175 กก. (13.6 ปอนด์) ฐานของถ้วยมีเส้น 2 ชั้นทำจากมรกต ในส่วนใต้ฐานของถ้วยรางวัลสลักปีและชื่อของทีมผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ผู้ออกแบบอธิบายถ้วยรางวัลนี้ว่า "เส้นที่โดดเด่นจากฐาน ที่หมุนรอบนั้นได้ขยายเพื่อรองรับโลก จากแรงดึงที่เคลื่อนที่ที่โดดเด่นของในส่วนตัวของถ้วยของประติมากรรมนี้ ได้ช่วยให้รูปร่างนักกีฬาดูเคลื่อนไหวไปกับห้วงเวลาแห่งชัยชนะ"[23]
ชาติผู้ชนะไม่ได้กรรมสิทธิ์การครอบครองถ้วยถาวร แต่ผู้ชนะฟุตบอลโลกจะเก็บถ้วยไว้จนกว่าจะถึงการแข่งขันครั้งต่อไป และจะได้ถ้วยจำลองจากทองผสมไปแทน[24]
ในปัจจุบัน สมาชิกทุกคน (ทั้งผู้เล่นและโค้ช) ของทีมใน 3 อันดับแรกจะได้รับเหรียญตรารูปถ้วยฟุตบอลโลก ผู้ชนะได้เหรียญทอง รองชนะเลิศได้เหรียญเงิน และที่ 3 ได้เหรียญทองแดง นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 2002 มีการมอบเหรียญที่ 4 ให้ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้ ก่อนหน้าการแข่งขันปี ค.ศ. 1978 จะมอบเหรียญให้กับ ผู้เล่นเพียง 11 คน ในนัดสุดท้ายของการแข่งขันรวมถึงนัดการแข่งขันชิงที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ฟีฟ่าประกาศว่าสมาชิกทุกคนของทีมผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างปี ค.ศ. 1930 และ 1974 จะได้รับรางวัลย้อนหลังเป็นเหรียญตรา[25][26][27]

[แก้] รูปแบบการแข่งขัน

[แก้] รอบคัดเลือก

ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ 1934 ก็เริ่มมีการจัดการแข่งขันคัดเลือกเพื่อจำกัดทีมในรอบสุดท้ายให้น้อยลง[28] จัดในเขตการแข่งขันทั้ง 6 เขตของฟีฟ่า (แอฟริกา, เอเชีย, อเมริกาเหนือและกลางและแคริบเบียน, อเมริกาใต้, เอเชียเนีย, และยุโรป) ตรวจสอบโดยสมาพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันในแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะกำหนดล่วงหน้าเรื่องจำนวน ว่าจะมีกี่ทีมในแต่ละเขตที่จะได้เข้าสู่รอบสุดท้าย โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของทีมของสมาพันธ์
กระบวนการคัดเลือก จะเริ่มในเกือบ 3 ปีก่อนที่จะแข่งรอบสุดท้ายและจะสิ้นสุดในช่วง 2 ปีก่อนการแข่งขัน รูปของการแข่งขันรอบคัดเลือกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสมาพันธ์ โดยปกติแล้ว ที่ 1 หรือ 2 อันดับแรกที่ชนะเพลย์ออฟระหว่างทวีป ตัวอย่างเช่น ผู้ชนะของเขตโอเชียเนีย และที่ 5 ของทีมในโซนเอเชีย จะแข่งรอบเพลย์ออฟในฟุตบอลโลก 2010[29] และจากฟุตบอลโลก 1938 เป็นต้นมา ประเทศเจ้าภาพจะเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยทันที และทีมแชมป์จะเข้ารอบสุดท้ายเพื่อป้องกันตำแหน่งในระหว่างปี 1938 และ 2002 แต่ในปี 2006 ได้งดไป ทีมบราซิลที่ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 เป็นทีมแรกที่แข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อป้องกันตำแหน่ง[30]

[แก้] รอบสุดท้าย

การแข่งขันรอบสุดท้ายปัจจุบัน มีทีมเข้าแข่งขัน 32 ชาติ ที่จะแข่งขันนานร่วม 1 เดือน ในประเทศเจ้าภาพการแข่งขัน โดยแบ่งเป็น 2 รอบคือ รอบแรก (แบ่งกลุ่ม) และรอบแพ้คัดออก[31]
ในรอบแบ่งกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ทีม โดยมี 8 ทีม (รวมถึงประเทศเจ้าภาพด้วย) ที่จะถูกเลือกออกมาจากอันดับโลกฟีฟ่า และ/หรือ ผลการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา ทั้ง 8 ทีมจะถูกแยกออกไปในแต่ละกลุ่ม[32] ส่วนทีมที่เหลือจะใส่ลงโถ โดยมากเป็นแบ่งจากเขตทางภูมิศาสตร์ แต่ละทีมในโถจะจับสลากกลุ่มที่อยู่ และตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1998 มีข้อบังคับว่าในแต่ละกลุ่มจะไม่มีทีมจากยุโรปมากกว่า 2 ทีม และมากกว่า 1 ทีม จากสมาพันธ์ฟุตบอลของแต่ละทวีปอื่น[33]
แต่ละทีมในกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด กล่าวคือแต่ละทีมจะแข่ง 3 นัด กับทีมอื่นในกลุ่มจนครบ ส่วนนัดสุดท้ายของการแข่งขันแบ่งกลุ่มจะแข่งเวลาเดียวกัน เพื่อให้ความยุติธรรมกับทั้ง 4 ทีม[34] ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกในกลุ่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยคะแนนมาจากการทำคะแนนในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 กำหนดให้ทีมผู้ชนะได้ 3 คะแนน ทีมที่เสมอได้ 1 คะแนน และทีมที่แพ้ไม่ได้คะแนน (ก่อนหน้านี้ ทีมที่ชนะได้ 2 คะแนน)
อันดับของแต่ละทีมในกลุ่ม พิจารณาจาก[35]
  1. จำนวนคะแนนในกลุ่ม
  2. จำนวนความแตกต่างในการทำประตูในกลุ่ม
  3. จำนวนการทำประตูในกลุ่ม
  4. ถ้าหากยังอยู่ในระดับเท่ากัน จะพิจารณาเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    1. จำนวนคะแนนในนัดที่ทีมเหล่านั้นนั้นเจอกัน
    2. จำนวนความแตกต่างในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
    3. จำนวนประตูในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
  5. หากทีมยังมียังอยู่ในระดับเท่ากันอีก หลังจากพิจารณาเกณฑ์ด้านบน จะใช้อันดับโลกฟีฟ่าในการพิจารณา
รอบแพ้คัดออก แต่ละรอบจะแข่งกันเพียงครั้งเดียว โดยจะต่อเวลาพิเศษและยิงลูกโทษหาก ไม่สามารถทำประตูได้ โดยเริ่มที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย (หรือรอบที่ 2) ผู้ชนะจะเข้าแข่งต่อในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และนำไปสู่รอบรองชนะเลิศ นัดชิงอันดับที่สาม (แข่งจากผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศ) และนัดชิงชนะเลิศ[31]

[แก้] เจ้าภาพ

[แก้] ขั้นตอนการคัดเลือก

การคัดเลือกเจ้าภาพในครั้งแรก ๆ จัดขึ้นในการประชุมของสภาฟีฟ่า สถานที่การจัดการแข่งขันมักเกิดความขัดแย้งเนื่องจาก ทวีปอเมริกาใต้และ ยุโรป ไกลเกินกว่าจะเป็นศูนย์กลางของทีมที่แข็งแกร่งและต้องใช้เวลาในการเดินทาง นาน 3 สัปดาห์ โดยเรือ การตัดสินใจเลือกประเทศอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพครั้งแรกนั้น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน มีทีมจากประเทศยุโรปเพียง 4 ทีมที่เข้าแข่งขัน[36] ส่วนเจ้าภาพในอีก 2 ครั้งถัดมาจัดขึ้นในยุโรป ในการจัดการแข่งขันที่ประเทศเจ้าภาพคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นมา เพราะจัดในฝั่งยุโรปเพื่อให้เข้าใจว่า สถานที่จัดนั้นจะสลับกันไปมาระหว่าง 2 ทวีป ซึ่งทั้งอาร์เจนตินาและอุรุกวัย คว่ำบาตรฟุตบอลโลก 1938[37]
ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 เป็นต้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรและข้อขัดแย้งในอนาคต ฟีฟ่าได้เริ่มรูปแบบที่ชัดเจน โดยเลือกประเทศเจ้าภาพสลับกัน 2 ทวีป ระหว่างทวีปอเมริกาและยุโรป ดำเนินมาถึงฟุตบอลโลก 1998 จนฟุตบอลโลก 2002 ที่ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย และเป็นครั้งเดียวของการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีเจ้าภาพร่วมกัน[38] และในฟุตบอลโลก 2010 แอฟริกาใต้ ก็เป็นชาติแรกในทวีปแอฟริกาที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978[39] และถือเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกจัด 2 ครั้งติดต่อกัน นอกยุโรป
สมาพันธ์ฟุตบอลของฟีฟ่า
การคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจะผ่านการลงคะแนนจากคณะผู้บริหารระดับสูงของฟี ฟ่า โดยการทำบัตรลงคะแนนที่รัดกุม สมาคมฟุตบอลแห่งชาติของแต่ละประเทศที่ต้องการเสนอตนเป็นเจ้าภาพ จะได้รับหนังสือ "ข้อตกลงการเป็นประเทศเจ้าภาพ" จากฟีฟ่า ที่อธิบายถึงขั้นตอนและสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากการประมูล สมาคมที่ประมูลก็ได้รับแบบฟอร์ม เรื่องการยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยืนยันอย่างเป็นทางการในการเป็นผู้เสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพ หลังจากนั้นฟีฟ่าจะแต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบเดินทางไปประเทศที่เสนอตัว เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ต้องการต่าง ๆ ในการจัดการแข่งขันและรายงานที่ประเทศนั้นอำนวยการสร้าง โดยการตัดสินใจคัดเลือกว่าประเทศใดเป็นประเทศเจ้าภาพนั้น โดยมากจะตัดสินใจล่วงหน้า 6-7 ปีก่อนปีที่จัด อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่มีการประกาศประเทศเจ้าภาพหลายเจ้าภาพในเวลาเดียวกัน เช่นในกรณี ฟุตบอลโลก 2018 และ 2022
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 เจ้าภาพที่เลือกจำกัดขึ้นเฉพาะประเทศที่เลือกจากเขตสมาพันธ์ (แอฟริกา ในฟุตบอลโลก 2010 และอเมริกาใต้ ในฟุตบอลโลก 2014) ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ นโยบายการหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาท ที่เจ้าภาพเยอรมนีชนะการลงคะแนนเสียงเหนือแอฟริกาใต้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อย่างไรก็ตามนโยบายการหมุนเวียนทวีป จะไม่มีต่อไปหลังปี 2014 ดังนั้นไม่ว่าจะประเทศใด (ยกเว้นประเทศที่เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งก่อน) ก็สามารถเสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018[40]

[แก้] ผลการแข่งขันของเจ้าภาพ

ผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 6 ทีม จาก 8 ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการเป็นเจ้าภาพ ยกเว้นทีมบราซิล ที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศในนัดที่บ้านเกิดในปี ค.ศ. 1950 และสเปน ที่ได้ที่ 2 ในบ้านเกิดในปี ค.ศ. 1982 ส่วนอังกฤษ (ค.ศ. 1966) และฝรั่งเศส (ค.ศ. 1998) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเพียงครั้งเดียวในครั้งที่ประเทศของตนเป็นประเทศเจ้า ภาพ ในขณะที่อุรุกวัย (ค.ศ. 1930), อิตาลี (ค.ศ. 1934) และอาร์เจนตินา (ค.ศ. 1978) ชนะครั้งแรกในการเป็นประเทศเจ้าภาพ แต่ในปีถัดมาก็ได้รับตำแหน่งชนะเลิศอีก ขณะที่เยอรมนี (ค.ศ. 1974) ชนะเลิศครั้งที่ 2 ในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ
ส่วนชาติอื่นที่ประสบความสำเร็จในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ เช่น สวีเดน (ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1958), ชิลี (ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1962), เกาหลีใต้ (ที่ 4 ในปี ค.ศ. 2002) และเม็กซิโก (รอบ 8 ทีมสุดท้ายทั้งในปี 1970 และ 1986) ทุกทีมที่เป็นเจ้าภาพ มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการแข่งขัน เว้นแต่ แอฟริกาใต้ (ค.ศ. 2010) ที่เป็นประเทศเจ้าภาพประเทศเดียวที่ตกรอบตั้งแต่รอบแรก

[แก้] การจัดการและสื่อครอบคลุม

ฟุตบอลโลกเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1954 และปัจจุบันถือเป็นรายการโทรทัศน์งานแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มากกว่างานแข่งขันโอลิมปิกเสียอีก โดยมีผู้ชมรวมในทุกนัดการแข่งขันของฟุตบอลโลก 2006 มีราว 26.29 พันล้านคน[1] มีผู้ชม 715.1 ล้านคนเฉพาะในนัดตัดสิน (1 ใน 9 ของประชากรโลก) ส่วนในรอบคัดเลือกในรอบแบ่งกลุ่ม มีผู้ชม 300 ล้านคน[41]
การแข่งขันฟุตบอลโลกในแต่ละครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 เป็นต้นมาจะมีสิ่งนำโชค (มาสคอต) หรือโลโก้ประจำของการแข่งขัน ซึ่งสิ่งนำโชคตัวแรกของฟุตบอลโลกคือ วิลลี สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 1966[42] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลครั้งล่าสุด (2010) มีการออกแบบลูกฟุตบอล เป็นพิเศษสำหรับการแข่งขัน

[แก้] ผลการแข่งขัน

ปี เจ้าภาพ ชิงชนะเลิศฟีฟ่าเวิลด์คัป ชิงอันดับ
ชนะเลิศ ผลการ
แข่งขัน
รองชนะเลิศ อันดับ 3 ผลการ
แข่งขัน
อันดับ 4
ฟุตบอลโลก 1930 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย 4 - 2 Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา ไม่มีที่ 3 [note 1]
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา และ Naval Ensign of the Kingdom of Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1934 Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Italy.svg อิตาลี 2 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกีย Flag of the German Empire.svg เยอรมนี 3 - 2 Flag of Austria.svg ออสเตรีย
ฟุตบอลโลก 1938 Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Italy.svg อิตาลี 4 - 2 Flag of Hungary.svg ฮังการี Flag of Brazil.svg บราซิล 4 - 2 Flag of Sweden.svg สวีเดน
ค.ศ. 1942 และ ค.ศ. 1946 ไม่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เนื่องจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ฟุตบอลโลก 1950 Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย 2 - 1[note 2] Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Sweden.svg สวีเดน ไม่มี[note 2] Flag of Spain.svg สเปน
ฟุตบอลโลก 1954 Flag of Switzerland.svg สวิตเซอร์แลนด์ Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 3 - 2 Flag of Hungary.svg ฮังการี Flag of Austria.svg ออสเตรีย 3 - 1 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1958 Flag of Sweden.svg สวีเดน Flag of Brazil.svg บราซิล 5 - 2 Flag of Sweden.svg สวีเดน Flag of France.svg ฝรั่งเศส 6 - 3 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก
ฟุตบอลโลก 1962 Flag of Chile.svg ชิลี Flag of Brazil.svg บราซิล 3 - 1 Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกีย Flag of Chile.svg ชิลี 1 - 0 Flag of SFR Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1966 Flag of England.svg อังกฤษ Flag of England.svg อังกฤษ 4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Portugal.svg โปรตุเกส 2 - 1 Flag of the Soviet Union.svg โซเวียต
ฟุตบอลโลก 1970 Flag of Mexico.svg เม็กซิโก Flag of Brazil.svg บราซิล 4 - 1 Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 1 - 0 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1974 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 2 - 1 Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ Flag of Poland.svg โปแลนด์ 2 - 1 Flag of Brazil.svg บราซิล
ฟุตบอลโลก 1978 Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา 3 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ Flag of Brazil.svg บราซิล 2 - 1 Flag of Italy.svg อิตาลี
ฟุตบอลโลก 1982 Flag of Spain.svg สเปน Flag of Italy.svg อิตาลี 3 - 1 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Poland.svg โปแลนด์ 3 - 2 Flag of France.svg ฝรั่งเศส
ฟุตบอลโลก 1986 Flag of Mexico.svg เม็กซิโก Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา 3 - 2 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of France.svg ฝรั่งเศส 4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Belgium.svg เบลเยียม
ฟุตบอลโลก 1990 Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svgเยอรมนีตะวันตก 1 - 0 Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา Flag of Italy.svg อิตาลี 2 - 1 Flag of England.svg อังกฤษ
ฟุตบอลโลก 1994 Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา Flag of Brazil.svg บราซิล 0 - 0
(3 - 2)
(ลูกโทษ)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Sweden.svg สวีเดน 4 - 0 Flag of Bulgaria.svg บัลแกเรีย
ฟุตบอลโลก 1998 Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of France.svg ฝรั่งเศส 3 - 0 Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Croatia.svg โครเอเชีย 2 - 1 Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์
ฟุตบอลโลก 2002 Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
และ Flag of Japan.svg ญี่ปุ่น
Flag of Brazil.svg บราซิล 2 - 0 Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of Turkey.svg ตุรกี 3 - 2 Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
ฟุตบอลโลก 2006 Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of Italy.svg อิตาลี 1 - 1
(5 - 3)
(ลูกโทษ)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Germany.svg เยอรมนี 3 - 1 Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลโลก 2010 Flag of South Africa.svg แอฟริกาใต้ Flag of Spain.svg สเปน 1-0
ต่อเวลา
Flag of Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ Flag of Germany.svg เยอรมนี 3 - 2 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 2014 Flag of Brazil.svg บราซิล






ฟุตบอลโลก 2018 Flag of Russia.svg รัสเซีย






ฟุตบอลโลก 2022 Flag of Qatar.svg กาตาร์





หมายเหตุ
  1. ^ ไม่มีประกาศที่ 3 อย่างเป็นทางการในนัดปี ค.ศ. 1930 โดยทีมสหรัฐอเมริกาและทีมยูโกสลาเวียแพ้ในรอบรองชนะเลิศ แต่ต่อมาฟีฟ่าได้ให้ทีมสหรัฐอเมริกาได้ที่ 3 ส่วนทีมยูโกสลาเวียได้ที่ 4 โดยใช้กติกา ดูผลของทีมตลอดทั้งการแข่งขัน[43]
  2. ^ 2.0 2.1 ไม่มีนัดชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1950[44] ไม่มีนัดชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1950 เพราะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศใช้แบบ 4 ทีม แต่ชัยชนะของอุรุกวัยต่อบราซิล 2-1 เป็นการตัดสินเพราะแต้มเพียงพอต่อการเป็นแชมป์ อันดับในรอบชิงชนะเลิศ: (1) อุรุกวัย (2) บราซิล (3) สวีเดน (4) สเปน[45] ซึ่งบังเอิญว่า 1 ใน 2 นัดสุดท้ายของการแข่งขัน ทีม 2 อันดับแรกแข่งขันด้วยกัน ซึ่งอุรุกวัยชนะบราซิล จึงถือว่าเป็นผลการตัดสินรอบสุดท้ายไปโดยปริยายของฟุตบอลโลก 1950[46]ขณะที่ทีมที่คะแนนน้อยที่สุด ที่เล่นในเวลาเดียวกับที่อุรกวัยเจอกับบราซิล ก็ถือว่าเป็นนัดชิงอันดับ 3 ซึ่งสวีเดนชนะสเปนไป 3-1
ในการแข่งขันทั้งหมด ใน 76 ชาติ ที่เข้าร่วมแข่งฟุตบอลโลกอย่างน้อย 1 ครั้งนั้น[47] โดยมี 8 ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งพวกเขาจะได้ติดดาวประดับอยู่บนเสื้อ ตามจำนวนครั้งที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก (อย่างไรก็ตาม อุรุกวัยถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ ทีมอุรุกวัยเลือกที่จะเลือกดาว 4 ดวงประดับบนเสื้อ แสดงถึงการได้เหรียญทอง 2 เหรียญในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 และ 1928 และชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งในปี 1930 และ 1950)
บราซิลเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดกับชัยชนะ 5 ครั้งในฟุตบอลโลก และเป็นชาติเดียวที่ได้แข่งฟุตบอลโลกทุกครั้ง (19 ครั้ง) นับถึงปัจจุบัน[48] และพวกเขาก็จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ในปี ค.ศ. 2014 และทีมที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งติดต่อกันคือ ทีมอิตาลี (1934 และ 1938) และทีมบราซิล (1958 และ 1962) ส่วนทีมที่เข้าสู่นัดติดสินติดต่อกัน 3 ครั้งได้แก่ทีมเยอรมนี (1982–1990) และทีมบราซิล (1994–2002) นอกจากนั้นทีมเยอรมนียังเป็นทีมที่ติดในรอบ 4 ทีมสุดท้ายมากที่สุด ถึง 12 ครั้ง ขณะที่ติด 2 ทีมสุดท้ายมากที่สุดเทียบเท่ากับทีมบราซิล ที่ 7 ครั้ง

[แก้] ผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก

แผนที่ของประเทศที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก

[แก้] ทีมที่ติด 4 อันดับแรก

ทีม↓ ชนะเลิศ↓ รองชนะเลิศ↓ ที่ 3↓ ที่ 4↓ จำนวนครั้งที่ติดใน 4 อันดับแรก↓
ธงชาติบราซิล บราซิล 5 (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) 2 (1950*, 1998) 2 (1938, 1978) 1 (1974) 10
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 4 (1934*, 1938, 1982, 2006) 2 (1970, 1994) 1 (1990*) 1 (1978) 8
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี^ 3 (1954, 1974*, 1990) 4 (1966, 1982, 1986, 2002) 4 (1934, 1970, 2006*, 2010) 1 (1958) 12
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 2 (1978*, 1986) 2 (1930, 1990) 4
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 2 (1930*, 1950) 3 (1954, 1970, 2010) 5
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1 (1998*) 1 (2006) 2 (1958, 1986) 1 (1982) 5
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 1 (1966*) 1 (1990) 2
ธงชาติสเปน สเปน 1 (2010) 1 (1950) 2
Flag of the Netherlands เนเธอร์แลนด์ 3 (1974, 1978, 2010) 1 (1998) 4
ธงชาติเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย# 2 (1934, 1962) 2
ธงชาติฮังการี ฮังการี 2 (1938, 1954) 2
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1 (1958*) 2 (1950, 1994) 1 (1938) 4
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 2 (1974, 1982) 2
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 1 (1954) 1 (1934) 2
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 1 (1966) 1 (2006) 2
Flag of the United States สหรัฐอเมริกา 1 (1930) 1
ธงชาติชิลี ชิลี 1 (1962*) 1
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 1 (1998) 1
ธงชาติตุรกี ตุรกี 1 (2002) 1
ธงชาติยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย# 2 (1930, 1962) 2
Flag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต# 1 (1966) 1
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 1 (1986) 1
ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย 1 (1994) 1
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 (2002*) 1
* = เป็นเจ้าภาพ
^ = รวมกับทีมเยอรมนีตะวันตกระหว่างปี ค.ศ. 1954 ถึง 1990
# = ทีมที่มีการแยกประเทศออกภายหลัง[47]

[แก้] ผลงานที่ดีที่สุดในแต่ละทวีป

ถึงวันนี้ ในรอบตัดสินของฟุตบอลโลกล้วนแต่มีแต่ทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ ทีมจากยุโรปชนะ 10 ครั้ง ทีมจากอเมริกาใต้ชนะ 9 ครั้ง มีเพียง 2 ทีมนอกเหนือจากทวีปทั้ง 2 นี้ที่เข้าสู่รอบรองชนะเลิศ คือทีมสหรัฐอเมริกา (ในเขตอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและแคริบเบียน) ในปี ค.ศ. 1930 และทีมเกาหลีใต้ (เขตเอเชีย) ที่เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1990 ส่วนผลที่ดีที่สุดของทีมจากแอฟริกาคือเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีมแคเมอรูน ในปี ค.ศ. 2002 และทีมกานา ในปี ค.ศ. 2010 และทีมจากเขตโอเชียเนีย ที่ผ่านเข้ารอบคือ ทีมออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2006 เข้าสู่รอบ 2 ได้[49]
ทีมบราซิล อาร์เจนตินา และสเปน เป็นทีมที่สามารถชนะฟุตบอลโลกนอกทวีปของตัวเองได้ บราซิลได้รับชัยชนะในยุโรป (ค.ศ. 1958) อเมริกาเหนือ (ค.ศ. 1970 และ 1994) และในเอเชีย (ค.ศ. 2002) ส่วนทีมอาร์เจนตินาชนะฟุตบอลโลกในอเมริกาเหนือในปี ค.ศ. 1986 ขณะที่ทีมจากสเปนชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกในแอฟริกาใน ปี ค.ศ. 2010 นอกเหนือจากนั้นแล้ว มี 3 ครั้งที่ทีมชนะติดต่อกันในฟุตบอลโลกจากทีมในทวีปเดียวกัน คือ อิตาลีและบราซิลป้องกันแชมป์ได้ในปี ค.ศ. 1938 และ 1962 ตามลำดับ ขณะที่ทีมจากสเปนชนะการแข่งขันในฟุตบอลโลก 2010 ถัดจากทีมอิตาลี ในปี ค.ศ. 2006

[แก้] รางวัลฟุตบอลโลก

ดูบทความหลักที่ รางวัลฟุตบอลโลก
เมื่อจบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในแต่ละปี จะมีการจัดรางวัลให้กับทีมและผู้เล่นในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันมี 6 รางวัล[50]
  • รางวัลบอลทองคำ สำหรับผู้เล่นยอดเยี่ยม พิจารณาจากการลงคะแนนของสมาชิกสื่อมวลชน (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982) และรางวัลบอลเงินและบอลทองแดง ให้กับผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ[51]
  • รางวัลรองเท้าทองคำ สำหรับผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในแต่ละปี (เริ่มมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 แต่ก็มีผลย้อนหลังในทุกการแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930) ส่วนรางวัลรองเท้าเงิน และรองเท้าทองแดง มอบให้กับผู้ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายอันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ[52]
  • รางวัลถุงมือทองคำ (แต่เดิมใช้ชื่อรางวัลยาชิน) มองให้กับผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม ตัดสินโดยกลุ่มศึกษาด้านเทคนิคฟีฟ่า (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994)[53]
  • รางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยม สำหรับดาวรุ่งยอดเยี่ยม ที่อายุไม่เกิน 21 ปี นับจากปีเกิด ตัดสินโดยกลุ่มศึกษาด้านเทคนิคฟีฟ่า (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006)[54]
  • รางวัลทีมที่เล่นขาวสะอาด สำหรับทีมเล่นที่มีสถิติการเล่นขาวสะอาดที่สุด นับจากระบบการให้คะแนนและเกณฑ์ของคณะกรรมการการเล่นอย่างขาวสะอาดของฟีฟ่า (FIFA Fair Play Committee) (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978)[54]
  • รางวัลทีมที่น่าสนใจ หรือทีมที่เล่นได้สนุกที่สุด สำหรับทีมที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก ตัดสินจากแบบสำรวจจากผู้ชม (เริ่มมีการมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994)[54]
ทีมรวมดารา เป็นทีมที่รวบรวมรายชื่อนักฟุตบอลยอดเยี่ยม 23 คนจากนักฟุตบอลทั้งหมด ของการแข่งขันแต่ละครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

[แก้] สถิติ

มีนักฟุตบอล 2 คนที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกสูงสุดคือ อันโตเนียว การ์บาคัล จากเม็กซิโก (1950–1966) และ โลทาร์ มัทเทอูส (1982–1998) ทั้งคู่ลงเป็นเข้าร่วมการแข่งขันในฟุตบอลโลก 5 ครั้ง[55] โดยมัทเทอูสเป็นผู้เล่นลงสนามในฟุตบอลโลกสูงสุดคือ 25 นัด[56] ขณะที่เปเล่จากบราซิลเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้รับเหรียญจากฟุตบอลโลก 3 ครั้ง (1958, 1962, และ 1970)[57] ส่วนผู้เล่นคนอื่นอีก 20 คนได้รับเหรียญจากการชนะเลิศ 2 ครั้ง[58] ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์จากเยอรมนี (1966–1974) เป็นผู้เล่นคนเดียวที่มีได้ลงแข่งในทีมรวมดารา ถึง 3 ครั้ง และยังเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้รับเหรียญทั้ง 3 แบบ คือเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง
ผู้เล่นทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก คือ โรนัลโด้ จากบราซิล ทำประตูได้ 15 ประตู (1998–2006) รองลงมาคือ มิโรสลาฟ โคลเซ (2002–2010) และเกิร์ด มุลเลอร์ จากเยอรมนีตะวันตก (1970–1974) ทำประตูได้ 14 ประตู[59] ผู้เล่นทำประตูได้เป็นอันดับ 4 คือ ชุสต์ ฟงแตน จากฝรั่งเศส และยังถือสถิติทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก 1 ครั้ง คือ 13 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1958[60]
มาริโอ ซากัลโล จากบราซิล และ ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์ จากเยอรมนีตะวันตก เป็นผู้เดียวจนถึงวันนี้ที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกในฐานะผู้เล่นและหัวหน้า โค้ช ซากัลโลชนะในฐานะผู้เล่นในปี ค.ศ. 1958 และ 1962 และในฐานะหัวหน้าโค้ชในปี ค.ศ. 1970[61] เบคเคนเบาเออร์ชนะในฐานะผู้เล่นในตำแหน่งกัปตันทีมในปี ค.ศ. 1974 และในฐานะหัวหน้าโค้ชในปี ค.ศ. 1990[62] และวิตโตริโอ ปอซโซ เป็นโค้ชคนเดียวที่ทำให้ทีมชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ 2 ครั้ง (1934 และ 1938)[63] และหัวหน้าโค้ชในฟุตบอลโลกทุกครั้งล้วนแต่เป็นคนจากประเทศนั้นที่นำชัยชนะมาได้
ในบรรดาทีมชาติทั้งหมด ทีมเยอรมนีเป็นทีมที่มีจำนวนนัดในการลงแข่งขันมากที่สุด คือ 99 นัด[64] ขณะที่บราซิลทำประตูในฟุตบอลโลกมากที่สุดคือ 210 ประตู[65] ในขณะที่ทั้ง 2 ทีมนี้เคยแข่งขันกันในฟุตบอลโลกเพียงครั้งเดียว คือในฟุตบอลโลก 2002 นัดตัดสิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น