วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] วิวัฒนาการ

สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง
ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว และ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

[แก้] อักษรไทย

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ




รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์


–่ –้ –๊ –๋

เครื่องหมายอื่น ๆ


–์ –๎ –ฺ


เครื่องหมายวรรคตอน


ฯลฯ





[แก้] พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ - ไก่ ไข่ ขวด* ควาย คน* ระฆัง งู
วรรค จะ - จาน ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง
วรรค ฏะ - ชฎา ปฏัก ฐาน มณโฑ ผู้เฒ่า เณร
วรรค ตะ - เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง หนู
วรรค ปะ - ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา ม้า
เศษวรรค - ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ จุฬา อ่าง นกฮูก
* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

[แก้] สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
หมายเหตุ : ที่แสดงข้างต้นเป็นสระเดี่ยว สระที่เหลือเป็นสระผสม เช่น เ-ะ ผสมจาก เ และ ะ

[แก้] วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม

[แก้] รูปวรรณยุกต์

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา

[แก้] เสียงวรรณยุกต์

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา

[แก้] ตัวเลข

ดูบทความหลักที่ เลขไทย
ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้
๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่นๆ

[แก้] เครื่องหมายวรรคตอน

[แก้] รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทย

ช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F
อักษรไทย
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+0E0x  
U+0E1x
U+0E2x
U+0E3x         ฿
U+0E4x
U+0E5x        
U+0E6x                                
U+0E7x                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น