วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีชื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราวปี พ.ศ. 2091[1] ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า "สุวรรณหงส์" ดังทราบได้จากบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ฯที่ว่า
Cquote1.svg
สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย
งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์
ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
Cquote2.svg
ในหนังสือตำนานเรือรบไทยพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ว่า เรือศรีสุพรรณหงส์สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2370 มีหมายรับสั่งให้จัด "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" เป็นเรือทรงพระบรมธาตุที่ได้มาจากเวียงจันทร์ ในจดหมายเหตุในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 เรียกชื่อเรือนี้ว่า "เรือสุพรรณหงส์" เรือสุพรรณหงส์ได้ชำรุดทรุดโทรมเรื่อยมา และได้รับการซ่อมแซมมาหลายครั้ง
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นังสุพรรณหงส์ มีพลตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่าง ประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ 2454

[แก้] ลักษณะ

[แก้] โครงสร้างของเรือ

นาวาสถาปนิกของเรือสุพรรณหงส์คือ พลเรือตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) จัดเป็นเรือพระที่นั่งกีบ มักใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของพระเจ้าอยู่หัว โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.9 เมตร กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.9 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.5 เมตร (พายครั้งหนึ่งแล่นไปได้ไกล 3.5 เมตร) หนัก 15.1 ตัน พายทอง[1]

[แก้] เครื่องประกอบ

  • พู่ห้อย ที่หัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทำด้วยขนจามรีซึ่งนำมาจากประเทศเนปาล มีลักษณะขนสีขาว นุ่มละเอียด นำมาประกอบทำเป็นชั้นๆเป็นทรงพุ่มแล้วจึงติดชนวนโดยรอบและตกแต่งให้สวยงาม
  • บัลลังก์กัญญา เรือพระที่นั่งจะทอดบัลลังก์กัญญาเป็นที่ประทับกลางลำตกแต่งด้วยม่าน[1]

[แก้] ลูกเรือ

เรือสุพรรณหงส์ใช้ลูกเรือทั้งสิ้น 57 คนเป็นฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน และคนเห่เรือ 1 คน
  • ฝีพายจะสวมเสื้อสักหลาดสีแดงติดลูกไม้ใบข้าว กางเกงผ้าเสิร์จสีดำ คาดผ้ารัดประคดโหมดเทศดาบฝักไม้ ด้ามไม้กลึง สาย สะพายดาบสักหลาดสีแดงติดแถบลูกไม้ สวมหมวกทรงประพาสสักหลาดแดงติดลูกไม้ใบข้าว สวมถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ[1]
  • นายเรือสวมหมวกทรงประพาสโหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้ออัตลัดสีฟ้า รัดประคด [2]
  • คนธงท้ายเรือแต่งกายด้วยหมวกทรงประพาส โหมดเทศยอดจุก เสื้ออัตลัดสีแดง ผ้าเกี้ยวลาย[2]
  • นายท้ายเรือสวมหมวกทรงประพาส โหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้ออัตลัดสีเขียว รัดประคดโหมดเทศ ผ้าเกี้ยวลาย[2]

[แก้] รางวัล

ด้วยความสำคัญของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จึงทำให้องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ให้ความสนใจส่งผู้แทนมาพิจารณามอบรางวัลเรือโลกแก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะกรรมการองค์การ WORLD SHIP TRUST ประกอบด้วยนายอีเวนเซาท์บี-เทลยัวร์ ประธานองค์การเรือโลก นายไมเคล ไทยแนน (MR. MICHAEL TYNAN) นักกฎหมายประจำองค์การฯ และนายเจมส์ ฟอร์ไซธ์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี พ.ศ. 2535 (THE WORLD SHIP TRUST MARITIME HERITAGE AWARD "SUPHANNAHONG ROYAL BARGE") จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่ อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่ง

[แก้] บทเห่เรือ

บทเห่เรือของ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในกาพย์เห่เรือฉบับต่างๆ เป็นดังนี้
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
อวดโฉมโสมโสภิน ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
นารายณ์ทรงสุบรรณบิน ลินลาศฟ้าอ่าอวดองค์
สุวรรณหงส์ลงลอยล่อง เพียงหงส์ทองล่องลอยนภา
พู่ห้อยร้อยรสนา งามหยาดฟ้ามาแดนชล
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
Suphannahongsa bow.jpg
โขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
ประวัติ (ประเทศไทย) Flag of Thailand.svg
ชื่อเรือ: ไทย : เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
อังกฤษ : Suphannahong
ตั้งชื่อตาม: เรือศรีสุพรรณหงส์
ปล่อยลงน้ำ: 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
เกียรติยศ และ
รางวัล:
เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี พ.ศ. 2535
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือพระที่นั่ง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 15.1 ตัน
ความยาว: 44.9 เมตร
ความกว้าง: 3.14 เมตร
กินน้ำลึก: 0.41 เมตร
ความลึก: 0.9 เมตร
ลูกเรือ: 57
หมายเหตุ: ฝีพาย 50 คน
นายท้าย 2 คน
นายเรือ 2 คน
คนถือธง 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน
คนเห่เรือ 1 คน
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น