วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผี

ผี
ผี เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ หรือตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เชื่อถือได้ จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องความตาย และมีอยู่ในเรื่องเล่ามานานในอดีต ผู้คนมักหวาดกลัวกับผี ไม่ว่าขณะที่เจอกับผี จะมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน หรือไม่ก็ตาม โดยสัญชาติญาณแล้วเมื่อรู้สึกว่าตนเจอผี คนจะตัดสินใจที่จะหนี พูดคุยเสียงดัง ๆ แม้ว่าจะคุยคนเดียว สวดมนต์ ขออภัยที่ล่วงเกิน หรือวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อทำให้ตนรู้สึกปลอดภัยขึ้น
ผีเป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์แต่ครั้งโบราณทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่ยุคก่อนจะมีศาสนา แม้ปัจจุบันนี้ ความเชื่อเรื่องผีจะเลือนหายไปบ้างแล้ว แต่ก็มีผู้คนส่วนมากที่เชื่อในเรื่องผีและสิ่งลี้ลับแม้ในประเทศที่เจริญ แล้วก็ตาม
ผีในคติความเชื่อของคนไทยจะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คือ ผีดี และ ผีร้าย ผีดี คือบรรพบุรุษที่คอยคุ้มครองดูแล แต่ถ้าไม่เคารพไม่บูชา ไม่เซ่นสวรวง ก็อาจให้โทษได้เช่นกัน เช่น ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น ส่วนผีร้าย คือ ผีที่คอยรังควาญ ไม่มีประโยชน์ เช่น ผีปอบ ผีกระสือ เป็นต้น
ผีอาจจะมีมาได้ในหลายลักษณะ แต่ส่วนมากมักจะปรากฏในรูปของอดีตมนุษย์ หรือมีลักษณะบางส่วนที่ค่อนข้างคล้ายกับมนุษย์ ผู้ประสบเหตุการณ์เช่นนี้มักมีความกลัวที่ฝังใจ และเชื่อว่าการที่เจอผีนี้ จำเป็นที่จะต้องทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อความปลอดภัย เช่น การกรวดน้ำ ทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ทำพิธีส่งวิญญาณ ฯลฯ ตามแต่ความเชื่อของแต่ละท้องที่ หรือ แต่ละบุคคล
ในทางจิตวิทยา อธิบายว่า การที่มนุษย์กลัวผีเกิดจากการที่กลัวบรรพบุรุษ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ผีในทางวิทยาศาสตร์

ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ โดนัลด์ จี คาร์เพนเตอร์ (Dr. Donald G. Carpenter) ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าผีจากรายงานทั่วโลกและได้ข้อสรุปทางฟิสิกส์ต่าง ๆ ดังนี้
นิยามของคำว่าผี
1. ผีอยู่ภายใต้กฏของฟิสิกส์
2. ผีไม่ใช่เรื่องมายากล ไม่ใช่ปาฎิหาริย์ และไม่ใช้เรื่องนอกเหนือกฎธรรมชาติข้อใด ๆ ทั้งสิ้น (ตามที่สันนิษฐานไว้ในข้อ 1.)
3. ผี (Ghost), การหลอกหลอน (poltergeist), วิญญาณ (Soul) ล้วนเกิดขึ้นมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่เป็นปรากฏการณ์ในรูปแบบต่างกัน
4. ผี (จากกฎข้อ 1 แล้ว) นับเป็น "สิ่งที่มีตัวตน" ควรจะมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผีตามความเชื่อของชนชาติใด ๆ ก็ตาม
5. ในการปรากฏกายของผีโดยเฉลี่ยแล้ว "ร่าง" ของผีจะกินเนื้อที่เป็นปริมาณ ประมาณ 0.07 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นปริมาตรเฉลี่ยเท่ากับคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม
มาตรฐานการพบเห็นผี (Standard Night time Ghost : SNG)
- กรณีแรก เกิดขึ้นโดยตรงกับสมองของ ผู้ประสบเหตุ อาจเกิดจากการรบกวนกระบวนการไฟฟ้าชีวเคมีในสมอง ทำให้ประสาทและระบบรับความรู้สึกเกิดความผิดเพี้ยน โดยเฉพาะในส่วนของมันสมองและไขสันหลัง (หรืออาจจะเรียกว่า "ประสาทหลอน" ก็ว่าได้) หรือไม่ก็เกิดจากการกระตุ้นให้สมองเกิดภาพหลอนขึ้นเอง โดยสิ่งเร้าภายนอก โดยอาจใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีขนาดพอเหมาะยิงตรงไปยังสมองก็เป็นได้ หรือเกิดการควบคุมสภาวะแวดล้อมบางอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก (ซึ่งเรียกว่า "ถูกควบคุมหรือถูกทำให้เกิดประสาทหลอน")
ซึ่งกรณีนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าผีไม่มีจริงในโลก
- กรณีที่สอง ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าผีมีจริง ซึ่งหากไม่ใช่กรณีแบบสมมติฐานแรก สามารถแบ่งการปรากฏของผีได้ 7 ข้อ ดังนี้
1. ผีปรากฏตัวทั้งในเวลากลางคืนและกลางวันในเวลากลางวันมีการพบเห็นน้อย การปรากฏตัวแต่ละครั้งกินเวลายาวนานไม่แน่นอน
2. ผีสามารถเปล่งแสงสว่างหรือเรืองแสงในตัวเองได้ โดยต้องมีกำลังส่องสว่าง อยู่ในช่วงความเข้มแสงประมาณ 1-20 แรงเทียน จึงจะทำให้สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้
3. การปรากฏตัวของผีจะทำให้บรรยากาศโดยรอบมีอุณหภูมิลดลงอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากผีต้องดึงเอาพลังงานความร้อน ในบรรยากาศอย่างน้อย 60 จูลส์ เข้าไปสะสมทำให้ตัวเองเปล่งแสงออกมาได้
4. การปรากฏกายของผีต้องมีเครื่องนุ่งห่มด้วย และมักปรากฏในลักษณะเป็นภาพราง ๆ โปร่งแสงมองทะลุได้บ้าง และมีขนาดเล็กกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป
5. ผีจะปรากฏในสภาพที่หันหน้าเข้าหาผู้พบเห็นบ่อยครั้งกว่าหันหลัง
6. ผีมักปรากฏตัวในร่างของมนุษย์หรือเหมือนมนุษย์ (ประมาณ 90 เปอร์เซนต์ เท่าที่มีการศึกษา) มีน้อยมากที่ปรากฏตัวในร่างของสัตว์
7. มักจะมีเสียงหรือกลิ่นเกิดขึ้นพร้อมกับการปรากฏตัวของผีในแต่ละครั้ง
และหากไม่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อนี้ ไม่นับว่าเป็นผี[1]

[แก้] ผีในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ไทย

อย่างไรก็ตาม ผีในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ไทยเช่น ศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน กล่าวว่า ผีมีจริงและแพ้คลื่นโทรศัพท์มือถือ โดยกล่าวอ้างถึงการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษว่า ผีเป็นพลังงานในลักษณะที่คล้ายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผีซึ่งเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นสั้นปรากฏตัวน้อยลง เพราะไหลไปรวมในบริเวณที่ ๆ มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อย สอดคล้องกับความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ไทยอีกคน คือ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่า ผีเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่การที่ใช้โทรศัพท์มากขึ้นนั้นไม่ถือว่าเป็นการไล่ผี แต่เป็นการถ่ายเทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังอีกจุดหนึ่งมากกว่า และในทางกลับกันการใช้มือถือซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก อาจทำให้เห็นภาพต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งไม่คิดว่า เป็นผีเพราะมนุษย์มีความรู้ในการพิจารณา การถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้ว มีภาพหรือเงาที่อธิบายไม่ได้ปรากฏนั้น ในอนาคตก็จะเห็นมากขึ้น เพราะวิทยาการล้ำหน้า เครื่องถ่ายภาพสามารถจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้มาก[2]
เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ หรือตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เชื่อถือได้ จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องความตาย และมีอยู่ในเรื่องเล่ามานานในอดีต ผู้คนมักหวาดกลัวกับผี ไม่ว่าขณะที่เจอกับผี จะมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน หรือไม่ก็ตาม โดยสัญชาติญาณแล้วเมื่อรู้สึกว่าตนเจอผี คนจะตัดสินใจที่จะหนี พูดคุยเสียงดัง ๆ แม้ว่าจะคุยคนเดียว สวดมนต์ ขออภัยที่ล่วงเกิน หรือวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อทำให้ตนรู้สึกปลอดภัยขึ้น
ผีเป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์แต่ครั้งโบราณทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่ยุคก่อนจะมีศาสนา แม้ปัจจุบันนี้ ความเชื่อเรื่องผีจะเลือนหายไปบ้างแล้ว แต่ก็มีผู้คนส่วนมากที่เชื่อในเรื่องผีและสิ่งลี้ลับแม้ในประเทศที่เจริญ แล้วก็ตาม
ผีในคติความเชื่อของคนไทยจะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คือ ผีดี และ ผีร้าย ผีดี คือบรรพบุรุษที่คอยคุ้มครองดูแล แต่ถ้าไม่เคารพไม่บูชา ไม่เซ่นสวรวง ก็อาจให้โทษได้เช่นกัน เช่น ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น ส่วนผีร้าย คือ ผีที่คอยรังควาญ ไม่มีประโยชน์ เช่น ผีปอบ ผีกระสือ เป็นต้น
ผีอาจจะมีมาได้ในหลายลักษณะ แต่ส่วนมากมักจะปรากฏในรูปของอดีตมนุษย์ หรือมีลักษณะบางส่วนที่ค่อนข้างคล้ายกับมนุษย์ ผู้ประสบเหตุการณ์เช่นนี้มักมีความกลัวที่ฝังใจ และเชื่อว่าการที่เจอผีนี้ จำเป็นที่จะต้องทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อความปลอดภัย เช่น การกรวดน้ำ ทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ทำพิธีส่งวิญญาณ ฯลฯ ตามแต่ความเชื่อของแต่ละท้องที่ หรือ แต่ละบุคคล
ในทางจิตวิทยา อธิบายว่า การที่มนุษย์กลัวผีเกิดจากการที่กลัวบรรพบุรุษ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ผีในทางวิทยาศาสตร์

ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ โดนัลด์ จี คาร์เพนเตอร์ (Dr. Donald G. Carpenter) ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าผีจากรายงานทั่วโลกและได้ข้อสรุปทางฟิสิกส์ต่าง ๆ ดังนี้
นิยามของคำว่าผี
1. ผีอยู่ภายใต้กฏของฟิสิกส์
2. ผีไม่ใช่เรื่องมายากล ไม่ใช่ปาฎิหาริย์ และไม่ใช้เรื่องนอกเหนือกฎธรรมชาติข้อใด ๆ ทั้งสิ้น (ตามที่สันนิษฐานไว้ในข้อ 1.)
3. ผี (Ghost), การหลอกหลอน (poltergeist), วิญญาณ (Soul) ล้วนเกิดขึ้นมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่เป็นปรากฏการณ์ในรูปแบบต่างกัน
4. ผี (จากกฎข้อ 1 แล้ว) นับเป็น "สิ่งที่มีตัวตน" ควรจะมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผีตามความเชื่อของชนชาติใด ๆ ก็ตาม
5. ในการปรากฏกายของผีโดยเฉลี่ยแล้ว "ร่าง" ของผีจะกินเนื้อที่เป็นปริมาณ ประมาณ 0.07 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นปริมาตรเฉลี่ยเท่ากับคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม
มาตรฐานการพบเห็นผี (Standard Night time Ghost : SNG)
- กรณีแรก เกิดขึ้นโดยตรงกับสมองของ ผู้ประสบเหตุ อาจเกิดจากการรบกวนกระบวนการไฟฟ้าชีวเคมีในสมอง ทำให้ประสาทและระบบรับความรู้สึกเกิดความผิดเพี้ยน โดยเฉพาะในส่วนของมันสมองและไขสันหลัง (หรืออาจจะเรียกว่า "ประสาทหลอน" ก็ว่าได้) หรือไม่ก็เกิดจากการกระตุ้นให้สมองเกิดภาพหลอนขึ้นเอง โดยสิ่งเร้าภายนอก โดยอาจใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีขนาดพอเหมาะยิงตรงไปยังสมองก็เป็นได้ หรือเกิดการควบคุมสภาวะแวดล้อมบางอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก (ซึ่งเรียกว่า "ถูกควบคุมหรือถูกทำให้เกิดประสาทหลอน")
ซึ่งกรณีนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าผีไม่มีจริงในโลก
- กรณีที่สอง ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าผีมีจริง ซึ่งหากไม่ใช่กรณีแบบสมมติฐานแรก สามารถแบ่งการปรากฏของผีได้ 7 ข้อ ดังนี้
1. ผีปรากฏตัวทั้งในเวลากลางคืนและกลางวันในเวลากลางวันมีการพบเห็นน้อย การปรากฏตัวแต่ละครั้งกินเวลายาวนานไม่แน่นอน
2. ผีสามารถเปล่งแสงสว่างหรือเรืองแสงในตัวเองได้ โดยต้องมีกำลังส่องสว่าง อยู่ในช่วงความเข้มแสงประมาณ 1-20 แรงเทียน จึงจะทำให้สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้
3. การปรากฏตัวของผีจะทำให้บรรยากาศโดยรอบมีอุณหภูมิลดลงอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากผีต้องดึงเอาพลังงานความร้อน ในบรรยากาศอย่างน้อย 60 จูลส์ เข้าไปสะสมทำให้ตัวเองเปล่งแสงออกมาได้
4. การปรากฏกายของผีต้องมีเครื่องนุ่งห่มด้วย และมักปรากฏในลักษณะเป็นภาพราง ๆ โปร่งแสงมองทะลุได้บ้าง และมีขนาดเล็กกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป
5. ผีจะปรากฏในสภาพที่หันหน้าเข้าหาผู้พบเห็นบ่อยครั้งกว่าหันหลัง
6. ผีมักปรากฏตัวในร่างของมนุษย์หรือเหมือนมนุษย์ (ประมาณ 90 เปอร์เซนต์ เท่าที่มีการศึกษา) มีน้อยมากที่ปรากฏตัวในร่างของสัตว์
7. มักจะมีเสียงหรือกลิ่นเกิดขึ้นพร้อมกับการปรากฏตัวของผีในแต่ละครั้ง
และหากไม่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อนี้ ไม่นับว่าเป็นผี[1]

[แก้] ผีในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ไทย

อย่างไรก็ตาม ผีในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ไทยเช่น ศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน กล่าวว่า ผีมีจริงและแพ้คลื่นโทรศัพท์มือถือ โดยกล่าวอ้างถึงการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษว่า ผีเป็นพลังงานในลักษณะที่คล้ายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผีซึ่งเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นสั้นปรากฏตัวน้อยลง เพราะไหลไปรวมในบริเวณที่ ๆ มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อย สอดคล้องกับความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ไทยอีกคน คือ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่า ผีเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่การที่ใช้โทรศัพท์มากขึ้นนั้นไม่ถือว่าเป็นการไล่ผี แต่เป็นการถ่ายเทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังอีกจุดหนึ่งมากกว่า และในทางกลับกันการใช้มือถือซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก อาจทำให้เห็นภาพต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งไม่คิดว่า เป็นผีเพราะมนุษย์มีความรู้ในการพิจารณา การถ่ายภาพหรือวิดีโอแล้ว มีภาพหรือเงาที่อธิบายไม่ได้ปรากฏนั้น ในอนาคตก็จะเห็นมากขึ้น เพราะวิทยาการล้ำหน้า เครื่องถ่ายภาพสามารถจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้มาก[2]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น