วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ
[[ไฟล์:|100px|ตราประจำจังหวัดบึงกาฬ]]
ตราประจำจังหวัด
สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล[1]
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย บึงกาฬ
ชื่ออักษรโรมัน Bueng Kan
ผู้ว่าราชการ สมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา[2]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
ISO 3166-2 TH-38
ต้นไม้ประจำจังหวัด ไม่มี
ดอกไม้ประจำจังหวัด ไม่มี
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 4,305.0 ตร.กม.
(อันดับที่ 52)
ประชากร 403,542 คน (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 62)
ความหนาแน่น 93.74 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 49)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ถนนชยางกูร ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 38000
โทรศัพท์ (+66) 0-4249-2715
โทรสาร (+66) 0-4249-2716
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดบึงกาฬ

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป[3] โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การจัดตั้ง

ใน พ.ศ. 2537 สุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร[4] และมีประชากรประมาณ 390,000 คน[5] อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี[6]
โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..."[5] ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ [5] ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[7] [8] โดยให้เหตุผลว่า[9]
  • เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน,
  • จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน,
  • จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน,
  • จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
  • บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก
ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[10] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น[3] เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า
"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย
เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นประธานในพิธี[11]

[แก้] ภูมิประเทศ

บึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

[แก้] การปกครอง

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการเลือกตั้งจังหวัดหนองคายออกมาระบุว่า จังหวัดบึงกาฬยังไม่ได้รับการแบ่งเขตเลือกตั้ง เนื่องจากราชกิจจานุเบกษาออกก่อนที่จังหวัดจะได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็น ทางการ ในส่วนของจังหวัดหนองคายที่มีเขตเลือกตั้ง 5 เขต สามารถเลือก ส.ส. ได้ 5 คน ตามประกาศเมื่อ 17 มีนาคม ก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะได้รับการจัดตั้งขึ้น[12] ด้านคณะกรรมการการเลือกตั้งกำลังแบ่งเขตการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือนเมษายนนี้ โดยเบื้องต้นจะให้บึงกาฬมี ส.ส. ได้ 2 คน[13] การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬใหม่ยังส่งผลกระทบทำให้ ส.ว. สรรหาลดลงเหลือ 73 คน[14]

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 54 ตำบล 599 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองบึงกาฬ
  2. อำเภอพรเจริญ
  3. อำเภอโซ่พิสัย
  4. อำเภอเซกา
  5. อำเภอปากคาด
  6. อำเภอบึงโขงหลง
  7. อำเภอศรีวิไล
  8. อำเภอบุ่งคล้า
 
พื้นที่สีเข้มเป็นพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

[แก้] ผู้ว่าราชการจังหวัด

รายนาม
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

[แก้] รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตของจังหวัดบึงกาฬ

  • เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์
  • ไตรรงค์ ติธรรม [15]

[แก้] สถาบันอุดมศึกษา

[แก้] การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ

สมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของจังหวัดบึงกาฬโดยเตรียมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การค้าชายแดน และการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกยางพารา[16]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น