วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย มีเขตแดนที่คลุมเครือโดยเฉพาะเขตต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ทวีปเอเชียกับแอฟริกาบรรจบกันที่ใดที่หนึ่งใกล้กับคลองสุเอซในอียิปต์ แนวเขตแดนระหว่างเอเชียกับยุโรปผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์ ทะเลมาร์มะรา ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลดำ แนวสันเขาบริเวณเทือกเขาคอเคซัส (บางคนว่าผ่านทะลุแอ่งคูมา-มานิช) ทะเลแคสเปียน แม่น้ำยูรัล (บางคนว่าผ่านแม่น้ำเอมบา) และเทือกเขายูรัล ถึงหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย เอเชียมีประชากรราวร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่คือเอเชียกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้] เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ

เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก

[แก้] เขตภูเขาและที่ราบสูง (หินใหม่)

กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย

[แก้] เขตที่ราบสูงเก่า

ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของ เปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
  • ที่ราบสูงเดกกัน เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจากทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อน ตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิด ขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
  • ที่ราบสูงอาหรับ เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็นทะเลแดงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น

[แก้] เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ

ทวีปเอเชียมีที่ราบลุ่มแม่น้ำหลายสาย ซึ่งแม่น้ำบางสาย เช่น แม่น้ำหวางเหอ (แม่น้ำเหลือง) แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ปัจจุบัน แม่น้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่สำคัญและเป็นเมืองใหญ่ ดินบริเวณนี้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำพัดพาไปทับถมจึงเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่

[แก้] ที่สุดในทวีปเอเชีย

จุดเหนือสุด: แหลมชิลยูสกิน ประเทศรัสเซีย
จุดใต้สุด: แหลมปิไอ ประเทศมาเลเซีย
จุดตะวันออกสุด: แหลมเดจนอฟ ประเทศรัสเซีย
จุดตะวันตกสุด: แหลมบาบา ประเทศตุรกี
ยอดเขาที่สูงที่สุด: ยอดเขาเอเวอเรสต์* เอเชียใต้และเอเชียตะวันออก
แม่น้ำสายยาวที่สุด: แม่น้ำแยงซี ประเทศจีน
เกาะที่ใหญ่ที่สุด: เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
แอ่งน้ำใหญ่ที่สุด: แม่น้ำอ็อบ ประเทศรัสเซีย
ทะเลสาบใหญ่ที่สุด: ทะเลแคสเปียน เอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ผิวน้ำต่ำที่สุด: ทะเลเดดซี* ประเทศอิสราเอลและจอร์แดน ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 เมตร
ผืนแผ่นดินต่ำที่สุด: ก้นทะเลสาบไบคาลในไซบีเรีย* ประเทศรัสเซีย ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,750 เมตร
ปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด: รัฐอัสสัม* ประเทศอินเดีย 10,719 มิลลิเมตรต่อปี
* เป็นข้อมูลที่สุดในโลกด้วย

[แก้] การแบ่งภูมิภาค

ทวีปเอเชียนอกจากจะเป็นอนุภูมิภาคของยูเรเชีย ยังอาจแบ่งออกเป็นส่วนย่อยดังนี้

[แก้] เอเชียเหนือ

ดูบทความหลักที่ เอเชียเหนือ และ ประเทศรัสเซีย และ ไซบีเรีย
นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน

[แก้] เอเชียกลาง

ดูบทความหลักที่ เอเชียกลาง
แผนที่แสดงที่ตั้งเอเชียกลาง
เมืองอัลมาตี
เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่ง หนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณทะเลแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2552) ความหนาแน่น
ธงชาติของคาซัคสถาน คาซัคสถาน อัสตานา 2,724,900 16,004,800 6
ธงชาติของเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน อาชกาบัต 488,100 5,110,000 10
ธงชาติของอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ทาชเคนต์ 447,400 25,606,000 62
ธงชาติของคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน บิชเคก 194,500 5,482,000 3
ธงชาติของทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน ดูชานเบ 143,100 7,349,145 51

[แก้] เอเชียตะวันออก

แผนที่ของเอเชียตะวันออก
ดูบทความหลักที่ เอเชียตะวันออก
เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ11,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่ง หนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คนต่อตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินชอน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น
ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2552) ความหนาแน่น
Flag of the People's Republic of China จีน ปักกิ่ง 9,671,018 1,335,612,968 138
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น โตเกียว 377,944 127,470,000 337
Flag of the Republic of China ไต้หวัน ไทเป 36,191 23,119,772 639
ธงชาติของเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ เปียงยาง 120,540 23,906,000 198
ธงชาติของเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ โซล 100,140 50,062,000 500
ธงชาติของมองโกเลีย มองโกเลีย อูลานบาตอร์ 1,564,116 2,736,800 2
ธงชาติของฮ่องกง ฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษของจีน) - 1,104 7,055,071 6,390
ธงชาติของมาเก๊า มาเก๊า (เขตบริหารพิเศษของจีน) - 29 541,200 18,662

[แก้] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดูบทความหลักที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์ตะวันออก บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐฉาน เทือกเขาอาระกันโยมา พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปุตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เสรีเบกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น
ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2552) ความหนาแน่น
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย จาการ์ตา 1,904,569 240,271,522 126
ธงชาติของสหภาพพม่า พม่า เนปีดอ 678,000 50,019,775 74
ธงชาติของไทย ไทย กรุงเทพมหานคร 514,000 67,764,033 132
ธงชาติของเวียดนาม เวียดนาม ฮานอย 331,210 88,069,000 265
ธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 329,750 33,318,000 83
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์ มะนิลา 300,000 91,983,102 307
ธงชาติของลาว ลาว เวียงจันทน์ 236,800 6,320,429 27
ธงชาติของกัมพูชา กัมพูชา พนมเปญ 181,035 14,805,358 82
ธงชาติของประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก ดิลี 14,874 1,134,000 76
ธงชาติของบรูไน บรูไน บันดาร์เสรีเบกาวัน 5,765 400,000 70
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ 665 4,987,600 7,023

[แก้] เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้
ดูบทความหลักที่ เอเชียใต้ และ อนุทวีปอินเดีย
เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น
ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
เมืองมุมไบเมืองท่าที่สำคัญของเอเชียใต้
ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2552) ความหนาแน่น
ธงชาติของอินเดีย อินเดีย นิวเดลี 3,287,240 1,198,003,000 365
ธงชาติของปากีสถาน ปากีสถาน อิสลามาบัด 803,940 180,808,000 225
ธงชาติของบังกลาเทศ บังกลาเทศ ธากา 147,570 162,221,000 1,099
ธงชาติของเนปาล เนปาล กาฐมาณฑุ 147,181 29,331,000 200
ธงชาติของศรีลังกา ศรีลังกา ศรีชัยวรเทนปุระ-โกตเต 65,610 20,238,000 309
ธงชาติของภูฏาน ภูฏาน ทิมพู 48,394 697,000 18
Flag of the Maldives มัลดีฟส์ มาเล 300 316,314 1,330

[แก้] เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ
ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี
บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ตุรกี ไซปรัส อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน
ทัศนียภาพของเมืองดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2552) ความหนาแน่น
ธงชาติของซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย ริยาด 1,960,582 28,686,633 15
ธงชาติของอิหร่าน อิหร่าน เตหะราน 1,648,195 74,196,000 45
ธงชาติของตุรกี ตุรกี อังการา 783,562 74,816,000 95
ธงชาติของอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน คาบูล 647,500 31,889,923 49
ธงชาติของเยเมน เยเมน ซานา 527,090 23,580,000 45
ธงชาติของอิรัก อิรัก แบกแดด 438,317 31,234,000 71
ธงชาติของโอมาน โอมาน มัสกัต 236,800 3,200,000 15
ธงชาติของซีเรีย ซีเรีย ดามัสกัส 185,180 21,906,000 118
ธงชาติของจอร์แดน จอร์แดน อัมมาน 92,300 6,318,677 68
ธงชาติของอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน บากู 86,600 8,922,000 103
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาบูดาบี 82,880 6,888,888 8
ธงชาติของคูเวต คูเวต คูเวตซิตี 17,820 3,100,000 174
ธงชาติของกาตาร์ กาตาร์ โดฮา 11,437 1,409,000 123
ธงชาติของเลบานอน เลบานอน เบรุต 10,452 4,224,000 404
ธงชาติของไซปรัส ไซปรัส นิโคเซีย 9,250 801,622 90
ธงชาติของบาห์เรน บาห์เรน มานามา 665 791,000 1,189

[แก้] ประชากร

ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้
  • เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
    • พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองและเป็นประชากรส่วนมากของทวีปเอเชีย อาศัยตามทางเอเชียเหนือและทางเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลี เป็นต้น
    • พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองอาศัยอยู่ตามทางตอนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
  • เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่เหมือนชาวทวีปยุโรป แต่ตาและผมสีเข้มกว่า อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย เช่น ชนชาติอาหรับ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของชาวอินเดีย
  • เผ่าพันธุ์นิกรอยด์ เป็นพวกผิวดำ มีรูปร่างเล็ก ผมหยิก เช่น บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้] เศรษฐกิจ

  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก1
อันดับ (เอเชีย) ประเทศ ค่าจีดีพี (ล้าน $) ปี 2009 อันดับ (โลก)
1
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
5,068,059
2
2
Flag of the People's Republic of China จีน
4,908,982
3
3
ธงชาติของอินเดีย อินเดีย
1,235,975
11
4
ธงชาติของเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
832,512
15
5
ธงชาติของตุรกี ตุรกี
615,329
17
6
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
539,377
18
7
ธงของไต้หวัน สาธารณรัฐจีน
378,969
25
8
ธงชาติของซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
369,671
26
9
ธงชาติของอิหร่าน อิหร่าน
330,461
29
10
ธงชาติของไทย ไทย
263,889
33
  • 1 ข้อมูลโดย IMF
  • ตารางแสดงประเทศในทวีปเอเชียที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (เอเชีย) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว($) ปี 2009 อันดับ (โลก)
1
ธงชาติของกาตาร์ กาตาร์
68,872
3
2
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
46,857
8
3
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
39,731
17
4
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์
37,293
20
5
ธงชาติของคูเวต คูเวต
31,482
24
-
ธงชาติของฮ่องกง ฮ่องกง (จีน)
29,826
ระหว่าง 24-25
6
ธงชาติของไซปรัส ไซปรัส
29,620
26
7
ธงชาติของอิสราเอล อิสราเอล
26,797
28
8
ธงชาติของบรูไน บรูไน
26,325
29
9
ธงชาติของบาห์เรน บาห์เรน
19,455
33
10
ธงชาติของโอมาน โอมาน
18,013
36
  • 2 ข้อมูลโดย IMF

[แก้] เอเชียกลาง

[แก้] เอเชียตะวันออก

  • เกษตรกรรม:
  • อุตสาหกรรม:
กรุงโตเกียวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก (ยกเว้นประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือที่อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก) ซึ่งได้รับการยอมรับจากตลาดโลกอย่างกว้างขวาง สรุปได้ดังนี้
    • อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย มีการผลิตทั้งอุตสาหกรรมขนาดหนักและอุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การต่อเรือ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ โอะซะกะ นะโงะยะ นะงะซะกิ โยะโกะฮะมะ เป็นต้น
    • อุตสาหกรรมในเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมรวดเร็วมากจนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย (รองจากญี่ปุ่น) อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ได้แก่ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของประเทศ เช่น โซล ปูซาน
    • อุตสาหกรรมในจีน
ประเทศจีน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้รวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบมีมาก ค่าจ้างแรงงานต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่เชิญญชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อาวุธสงคราม การทอผ้า รถบรรทุก ฯลฯ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนสิน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
    • อุตสาหกรรมในไต้หวัน
อุตสาหกรรมของไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบาและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของเล่นเด็ก เมืองหลักของอุตสาหกรรมไต้หวัน คือ ไทเป
  • พาณิชยกรรม:
กรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่นและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
  • การประมง:
    • การประมงน้ำจืด:
ประเทศจีนเป็นผู้นำในการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยมีแหล่งประมงที่สำคัญอยู่ที่แม่น้ำแยงซีและมณฑลกวางตุ้ง
    • การประมงน้ำเค็ม:
ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการทำประมงทางทะเลมากที่สุดในโลก มีเรือประมงที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีก้าวหน้า แหล่งสำคัญอยู่ที่ คูริลแบงก์ ทางเหนือของเกาะฮกไกโด
  • การทำป่าไม้:
    • การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศจีน:
มีการทำป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศ แถบมณฑลเฮย์หลงเจียงและมณฑลเสฉวน
    • การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น:
เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกที่มีการพัฒนาการทำป่าไม้ไปมาก

[แก้] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • เกษตรกรรม: แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
    • การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ:
เป็นการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม อาศัยฝนตามธรรมชาติ ใช้ความรู้หรือเทคโนโลยีมาช่วยไม่มากนัก เช่น การเพาะปลูกในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ติมอร์ตะวันออก เป็นต้น
    • การเพาปลูกเพื่อการค้า:
เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้มาก โดยเฉพาะข้าว ประเทศที่ปลูกข้าวมาก ได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น
ประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน และความรู้ทางเทคโนโลยี ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่ง อุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบอาชีพ เกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรมจึงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
  • พาณิชยกรรม:
จาการ์ตาเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งการค้าสำคัญอีก แห่งหนึ่ง อันเนื่องมาจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาค และในภูมิภาคก็ยังมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ยางพารา ดีบุก น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด ข้าวเจ้า ฯลฯ เมืองที่เป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพมหานคร และจาการ์ตา เป็นต้น
  • การประมง:
สภาวะทางธรรมชาติทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่อุดมด้วย สัตว์น้ำ ทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย การประมงจึงเป็นอาชีพสำคัญของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกอาชีพหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเล ในปัจจุบัน ทุกประเทศได้ขยายน่านน้ำเศรษฐกิจจำเพาะจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น แต่การจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่จับปลาได้มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมา คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ตามลำดับ
  • การทำป่าไม้ ประเทศที่มีผลผลิตจากป่าไม้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซียและพม่า เนื่องจากมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์

[แก้] เอเชียใต้

[แก้] เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น