วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร และอาณาจักรทวารวดี

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

อาณาเขตของอาณาจักรทวารวดี
ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่ สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยทราวดีและ ที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัย กรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฏว่า ได้มีการแต่งตั้งพระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] ตราประจำจังหวัด

Seal Buriram.png
คือ รูปเทวดารำและปราสาทหิน
  • เทวดารำ หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
  • ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด
  • ปราสาทหิน คือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน

[แก้] ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกสุพรรณิการ์ หรือดอกฝ้ายคำ
ดอกฝ้ายคำ (Cochlospermum regium)

[แก้] ต้นไม้ประจำจังหวัด

กาฬพฤกษ์ (Cassia grandis)

[แก้] คำขวัญประจำจังหวัด

Cquote1.svg
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม
Cquote2.svg
คำขวัญประจำจังหวัดบุรีรัมย์

[แก้] ความหมายของคำขวัญ

  • เมืองปราสาทหิน หมายถึง บุรีรัมย์มีปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
  • ถิ่นภูเขาไฟ หมายถึง บุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายแห่ง
  • ผ้าไหมสวย หมายถึง บุรีรัมย์มีการทอผ้าไหมขึ้นชื่อ ที่อำเภอนาโพธิ์
  • รวยวัฒนธรรม หมายถึง บุรีรัมย์มีความเจริญทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ

[แก้] อักษรย่อจังหวัด

บร.

[แก้] ธงประจำจังหวัด

ธงสีม่วง-แสด ครงกลางมีตราประจำจังหวัดติดอยู่

[แก้] หน่วยการปกครอง

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้] อำเภอ

Amphoe Buriram.png
การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2212 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  2. อำเภอคูเมือง
  3. อำเภอกระสัง
  4. อำเภอนางรอง
  5. อำเภอหนองกี่
  6. อำเภอละหานทราย
  7. อำเภอประโคนชัย
  8. อำเภอบ้านกรวด
  9. อำเภอพุทไธสง
  10. อำเภอลำปลายมาศ
  11. อำเภอสตึก
  12. อำเภอปะคำ
  1. อำเภอนาโพธิ์
  2. อำเภอหนองหงส์
  3. อำเภอพลับพลาชัย
  4. อำเภอห้วยราช
  5. อำเภอโนนสุวรรณ
  6. อำเภอชำนิ
  7. อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
  8. อำเภอโนนดินแดง
  9. อำเภอบ้านด่าน
  10. อำเภอแคนดง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมือง
อำเภอคูเมือง
อำเภอกระสัง
อำเภอนางรอง
อำเภอหนองกี่
อำเภอละหานทราย
อำเภอประโคนชัย
อำเภอบ้านกรวด
อำเภอพุทไธสง
อำเภอลำปลายมาศ
อำเภอสตึก
อำเภอปะคำ
อำเภอนาโพธิ์
อำเภอหนองหงส์
อำเภอพลับพลาชัย
อำเภอห้วยราช
อำเภอโนนสุวรรณ
อำเภอชำนิ
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
อำเภอโนนดินแดง
อำเภอบ้านด่าน
อำเภอแคนดง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

[แก้] ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

อำเภอ↓ ระยะทาง (กม.)↓ อำเภอ↓ ระยะทาง (กม.)↓
ห้วยราช 10 หนองหงส์ 60
บ้านด่าน 17 พุทไธสง 64
กระสัง 30 บ้านกรวด 66
ลำปลายมาศ 31 เฉลิมพระเกียรติ 70
คูเมือง 34 โนนสุวรรณ 70
สตึก 40 ปะคำ 78
ประโคนชัย 44 นาโพธิ์ 80
นางรอง 55 บ้านใหม่ไชยพจน์ 80
พลับพลาชัย 58 หนองกี่ 83
แคนดง 59 โนนดินแดง 92
ชำนิ 59 ละหานทราย 99

[แก้] ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญคือ
  1. พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้
  2. พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด
  3. พื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล

[แก้] ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้
ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำ จะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย

[แก้] ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์

[แก้] อำเภอเมือง

  • ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นแหล่งเก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลป วัฒนธรรมของท้องถิ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมหาจักรีบรมราชวงค์
  • วนอุทยานเขากระโดง เขากระโดงเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปากปล่องปะทุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กโดยเฉพาะนกนานาชนิดบนเขากระโดง ยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ ของคนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์ของตัวเมืองบุรีรัมย์ และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล
  • อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งดูนกน้ำแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 4,434 ไร่ ซึ่งมีนกกระสาปากเหลือง เป็นนกที่มีค่าหายากอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังพบนกกระสาดำ นกกาบบัว นกอ้ายงั่ว เป็ดเทา และนกน้ำต่างๆ อีกมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถปั่นจักรยานชมทัศนีย์ภาพรอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดได้
  • อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน
  • โครงการชลประทานบุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน

[แก้] อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

  • อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของ ไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอด คล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะ หน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อน ช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่า มหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง 15 บานราวปาฏิหารย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้น
  • วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดี เพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก
เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น
น้ำตกเขาพระอังคาร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัด

[แก้] อำเภอนางรอง

[แก้] อำเภอประโคนชัย

  • ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัว ปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540
  • อ่างเก็บน้ำสนามบิน

[แก้] อำเภอบ้านกรวด

  • แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่างๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพรมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
  • เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ

[แก้] อำเภอปะคำ

[แก้] อำเภอโนนดินแดง

  • เขื่อนลำนางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน น
เขื่อนลำนางรองเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์จึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน
  • ปราสาทหนองหงส์
  • อนุสาวรีย์เราสู้ อยู่ริมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ และทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับผู้ก่อ การร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสร้าง ถนนสายละหานทราย - ตาพระยา

[แก้] อำเภอสตึก

[แก้] อำเภอลำปลายมาศ

[แก้] อำเภอพุทไธสง

  • วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) พระเจ้าใหญ่วัดหงส์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมืองปรากฏอยู่มาก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดหงส์ หรือวัดศีรษะแรด ในอำเภอพุทไธสง ทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 จะจัดงานเฉลิมฉลองทุกปี มีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่างๆ ไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก
คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาไทยอีสาน หมายถึง "พระพุทธรูป" ที่เรียกพระเจ้าใหญ่คงมิใช่ขนาดองค์พระพุทธรูปแต่หมายถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นที่เคารพสักการะของชาวบุรีรัมย์และประชาชนจากจังหวัดต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะการสาบานและการอธิฐาน เคยปรากฏว่าผู้ที่ผิดคำสาบานได้รับภัยพิบัติต่างๆ จึงได้มีผู้ไปสาบานงดเว้นอบายมุข เลิกดื่มสุรา สักการะกราบไหว้ขอให้คุ้มครองรักษาอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้ ยังได้พบพระพิมพ์รูปใบขนุน และพระพุทธรูปแกะสลักจากนอแรดที่ใต้ฐานพระเจ้าใหญ่ด้วย

[แก้] อำเภอนาโพธิ์

  • หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์จะมีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์ คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด

[แก้] อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

  • ปรางค์กู่สวนแตง เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิด จนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547
ลักษณะของกู่ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้าน สลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีกสององค์มีขนาดเล็กกว่าฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้า เช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบ สำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่นๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัว ยอดปรางค์ กลีบขนุน รูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิเช่น ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตารแสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฎราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร ทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง

[แก้] การเดินทาง

[แก้] รถโดยสารประจำทาง

  • สายกรุงเทพ - บุรีรัมย์ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หมอชิต) มาลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ มีบริการทั้งกิจการทัวร์ , บริษัทขนส่ง จำกัด , ศิริรัตนพลทัวร์ , นครชัยแอร์
  • กรุงเทพ - พนมรุ้ง - กรุงเทพ มีทั้งบริการรถประอากาศชั้น 1 และ 2 ใช้เวลาเดินทาง 6 - 7 ชั่วโมง
  • กรุงเทพ - พุทไธสง -กรุงเทพ มีบริการรถปรับอากาศ VIP และชั้น 1 ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง
  • กรุงเทพ - อุบลราชธานี
  • กรุงเทพ - สุรินทร์
  • กรุงเทพ - ศรีสะเกษ
  • อุบลราชธานี - ระยอง
  • อุบลราชธานี - ภูเก็ต
  • มุกดาหาร - พัทยา แวะจอดรับ - ส่งผู้โดยสารที่ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และ 2
  • บุรีรัมย์ - นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - สุรินทร์ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - ขอนแก่น ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - จันทบุรี ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - อรัญประเทศ ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - ร้อยเอ็ด ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - นางรอง จุดหมายปลายทางที่อำเภอนางรอง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และ ปราสาทเมืองต่ำ
  • บุรีรัมย์ - ประโคนชัย - บ้านกรวด - ละหานทราย จุดหมายปลายทางที่วัดป่าพระสบาย อำเภอบ้านกรวด อ่างเก็บน้ำสนามบิน และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด
  • บุรีรัมย์ - พุทไธสง จุดหมายปลายทางที่ อำเภอพุทไธสง
  • บุรีรัมย์ - สตึก จุดหมายปลายทางที่ อำเภอสตึก
  • สายตลาดเทศบาล - เขากระโดง (สาย 1) ขึ้นรถได้ที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และสถานีขนส่ง

[แก้] รถไฟ

จังหวัดบุรีรัมย์มีขบวนรถด่วนพิเศษสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ทั้งขบวน ขบวนรถด่วนสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ ขบวนรถเร็วสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 ขบวน ขบวนรถธรรมดาสายกรุงเทพ-สุรินทร์ และขบวนรถท้องถิ่นสาย นครราชสีมา-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 ขบวน จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานีผ่าน อำเภอต่างๆ ดังนี้

[แก้] เครื่องบิน

ปัจจุบันบริษัท นกแอร์ จำกัด และบริษัท ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ จำกัด มีเครื่องบินไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ มาลงที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (อำเภอสตึก) อยู่ประจำ

[แก้] ทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดบุรีรัมย์

Thai Highway-24.svg

[แก้] สถานีขนส่งผู้โดยสารในจังหวัดบุรีรัมย์


[แก้] ศูนย์วัฒนธรรม

[แก้] สะพานสำคัญ

[แก้] การสาธารณสุขในจังหวัดบุรีรัมย์

[แก้] การสาธารสุขในอำเภอเมือง

[แก้] การสาธารสุขในต่างอำเภอ

[แก้] ตลาด

  • ตลาดสดเทศบาล
  • ตลาดสดไนซ์พล่าซ่า

[แก้] ด่านชายแดน

[แก้] อารามหลวง

[แก้] สถานศึกษา

[แก้] โรงเรียนมัธยม สพฐ.

[แก้] โรงเรียนเอกชน

[แก้] มหาวิทยาลัยเอกชน

[แก้] โรงเรียนอุดมศึกษา

[แก้] โรงภาพยนตร์

  • TTF Cineplex ทวีกิจ ซุปเปอร์เซนเตอร์ สาขาบุรีรัมย์ จำนวน 2 โรง
  • ทวีกิจ Cineplex ทวีกิจ พลาซ่า สาขาบุรีรัมย์ จำนวน 1 โรง
  • J-Cineplex J.พลาซ่า สาขาลำปลายมาศ จำนวน 2 โรง

[แก้] กีฬา

[แก้] สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ (PEA)

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่2ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ
หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็น ครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่ง รองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจกองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย
ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552
ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำ ให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์เป็นทองสุข สัมปหังสิตอดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา
ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อทีม เป็น บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ จากการเข้าครอบครองอำนาจบริหารสโมสรของ นายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด พร้อมกันนั้นทีมผู้ฝึกสอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนด้วยเช่นกัน

[แก้] สโมสรฟุตบอลจังหวัดบุรีรัมย์ (FC)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันเล่นใน ลีก ดิวิชั่น 1

[แก้] สินค้า OTOP

ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่
  • กลุ่มเกษตรเลี้ยงไหมเมืองแฝก
  • กลุ่มทอผ้าฝ้ายรุ่งเรือง
  • นางวิไรวรรณ รุ่งเป้า
  • กลุ่มผ้าตุ้มทองบ้านนาโพธิ์
  • นางตา พรมวัน
  • กลุ่มทอผ้าไหมหนองตาไก้
  • กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วยกี่กระตุกบ้านหนองแม่มด
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือลายขัดพื้นฐาน
  • กลุ่มเกษตรเลี้ยงไหมเมืองแฝก
  • กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วยกี่กระตุกบ้านหนองแม่มด
  • นางสาวอารีรัตน์ พิรัมย์
ผลิตภัณฑ์ผ้ายกดอก
  • กลุ่มทอผ้าไหมหนองตาไก้
ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร
  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหมู่ที่ 6
  • กลุ่มสมุนไพรถนอมผิว
ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากผ้า
  • กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
ผลิตภัณฑ์จากต้นกก
  • กลุ่มทอเสื่อกก
  • กลุ่มสตรีบ้านหนองดวน
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ
  • วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานจากใบลาน
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป
  • นางสาวพลอย สุรถาวร
ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้า
  • นายสุเมธ บุญพรพิมลกิจ
ผลิตภัณฑ์เปล
  • กลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
ผลิตภัณฑ์รองเท้าสมุนไพร
  • กลุ่มพัฒนาอาชีพหัตถกรรมผักตบชวา
ผลิตภัณฑ์เตาฟืน
  • นายเสาร์ จันทร์ศรี
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอบตัว
  • กลุ่มสมุนไพรถนอมผิว
ผลิตภัณฑ์แชมพู
  • กลุ่มแปรรูปสมุนไพรสตรีระกาใต้
ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอ
  • นางสาวอารีรัตน์ พิรัมย์

[แก้] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตจังหวัดบุรีรัมย์

[แก้] ชาวบุรีรัมย์ที่มีชื่อเสียง

[แก้] นักมวย

[แก้] นักแสดง

  • ทฤษฎี สหวงษ์
  • คุณาฐารญา แก้วฝ่ายนอก
  • สุนิสา แย้มงาม(น้องอ้อม)D9ดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ วงดนตรีลูกทุ่งเฟื่องฟ้า-ขาว รองแชมป์ฤดูฝนปี 5 รายการชิงช้าสวรรค์
  • ทิชากร คุปตวานิช(น้องเกมส์)วงดนตรีโรงเรียนกระสังพิทยาคม ถ้วยรางวัลพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ รายการชิงช้าสวรรค์

[แก้] นักดนตรี

[แก้] นักการเมือง

[แก้] ครูบาช้าง

[แก้] งานประเพณี

ชื่องานประเพณี วันที่จัดงาน และสถานที่จัดงาน [3]
งานดอกฝ้ายคำบาน ช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บริเวณปราสาทเขาพนมรุ้ง
นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) วันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 หรือตรงกับ วันมาฆบูชา ของทุกปี ที่วัดศีรษะแรด อ.พุทไธสง
นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชา
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
งานเครื่องเคลือบพันปี ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ที่ อ.บ้านกรวด
ประเพณีแข่งเรือยาว วันเสาร์-อาทิตย์แรก ของเดือน พ.ย. ที่ลำน้ำมูล ที่ที่ว่าการ อ.สตึก
มหกรรมว่าวอีสาน ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน ธ.ค. บริเวณสนามกีฬา อ.ห้วยราช
มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี ประมาณต้นเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอ อ.หนองกี่

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ ประกาศ สานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ^ นายรอบรุ้ บุรีรัมย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น