วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มด

มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] วรรณะมด

  • มดราชินี (queen) เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย (female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
  • มดเพศผู้ (male) เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
  • มดงาน(worker) เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

[แก้] กายวิภาคของมด

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง

[แก้] ส่วนหัว

ส่วนหัวของมด มีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างห้าเหลี่ยม รูปร่างมังกร หรือวงรี ซึ่งมีส่วนที่สำคัญอีกคือ

[แก้] หนวด

หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
  • มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
  • มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
  • มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
  • มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง

[แก้] ตา

แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
  • ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
  • ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

[แก้] ปาก

ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
  • ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
  • ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
  • ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

[แก้] ส่วนกลาง

ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

[แก้] ส่วนท้อง

มด
Formica high res.jpg
มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น