วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปีนักษัตร

ปีนักษัตร (ออกเสียง นัก-สัด) เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยการนับรอบละ 12 ปี อันเป็นคติการนับปีที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ทั้งชาวไทย จีน และเวียดนาม เป็นต้น ปีนักษัตร 12 ปีนั้น มีดังนี้
ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน โดยเริ่มต้นนับที่ปีชวด

[แก้] สัตว์ประจำปีนักษัตร

ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้
ปี ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน
สัตว์ หนู วัว เสือ กระต่าย งูใหญ่ งูเล็ก ม้า แพะ ลิง ไก่ สุนัข สุกร

[แก้] ปีนักษัตรในภาษาต่างๆ

อักษรจีน ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนฮากกา[1] ภาษาจีนฮากกา[2] ชื่อนักษัตร ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาไทยวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ ภาษาเวียดนาม
สู่ (shu3) ฉู่ ชู่ ชวด หนู มุสิก ใจ้ ใจ้ เจ้อ-อี Tí ตี๊
หนิว (niu2) แหง่ว แหงว ฉลู วัว อุสุภ, อุสภ เป้า เป้า เป้า Sửu สือ-ว
หู่ (hu3) ฝู่ ฟู่ ขาล เสือ พยาฆร, พยัฆะ, วยาฆร, พยคฆ ยี ยี ยี Dần เหยิ่น
ทู่ (tu4) ถู้ ถู้ เถาะ กระต่าย สะสะ, สัศ เม้า เหม้า เหม้า Mạo หม่าว
龍/龙 หลง (long2) หลุง หลุง/ลยุ๋ง มะโรง งูใหญ่ มังกร, นาค, สงกา สี สี สี Thìn ถิ่น
เสอ (she2) สา สา มะเส็ง งูเล็ก สัป, สปปก ใส้ ใส้ เส้อ-อื Tị ติ
馬/马 หม่า (ma3) มา มา มะเมีย ม้า ดุรงค, อัสส, อัสดร สง้า สะงะ สีงะ Ngọ หง่อ
หยาง (yang2) หยอง หยอง มะแม แพะ เอฬกะ, อัชฉะ เม็ด เม็ด โมด Mùi หมุ่ย
โหว (hou2) แห็ว แห็ว วอก ลิง มกฏะ, กปิ สัน แสน สัน Thân เทิน
雞/鸡 จี (ji1) แก/ไก แก ระกา ไก่ กุกกุฎ, กุกกุฏ เล้า เล้า เฮ้า Dậu เหย่า
โก่ว (gou3) แกว แก้ว จอ หมา โสณ, สุนัข เส็ด เส็ด เม็ด Tuất ต๊วด
豬/猪 จู (zhu1) จู จู กุน หมู สุกร, วราห, กุญชร ใก๊ ใก๊ เก้อ-อื Hợi เห่ย
  1. ^ คำอ่านเป็นภาษาฮากกา(จีนแคะ) สำเนียง ฉิมฮาก(แคะลึก) จาก hakkapeople.com [1]
  2. ^ คำอ่านเป็นภาษาฮากกา(จีนแคะ) สำเนียง ปันซันขัก(แคะตื้น) จาก hakkapeople.com [2]
หมายเหตุ ภาษาจีนฮากกกา หรือที่คนไทยรู้จักในนามภาษาจีนแคะ ซึ่งถือว่าเป็นฟอตซิลของภาษาจีน หรือชาวฮั่น และเป็น 1 ใน 5 ภาษาถิ่นของจีน ที่ยังมีใช้ถึงปัจจุบัน

ชาวไทยนิยมนับปีด้วยปีนักษัตรมาช้านาน แต่เนื่องจากปีนักษัตรมีรอบเพียง 12 ปี ซึ่งสั้นเกินไป จึงมักจะใช้เลขท้ายปีจุลศักราชมาประกอบด้วย (อ่านเพิ่มเติม ที่ ปฏิทินสุริยคติไทย)
การนับปีนักษัตรแบบจีนมักใช้ แผนภูมิสวรรค์ ได้แก่ 子 , 丑 , 寅 , 卯 , 辰 , 巳 , 午 , 未 , 申 , 酉 , 戌 , 亥 และภาคปฐพี ได้แก่ 甲 , 乙 , 丙 , 丁 , 戊 , 己 , 庚 , 辛 , 壬 , 癸 กำกับ ซึ่งมีรอบ 12 ปีเท่ากัน เขียนเป็น 子鼠, 丑牛, 寅虎 ฯลฯ เพื่อแยกออกจากความหมายของสัตว์ทั่วไป อาทิ 鼠 หมายถึง หนู เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น