วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์คือ

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง จากหลักฐานที่ได้มีบันทึกเก็บไว้ หรือประสบการณ์จากผู้รู้โดยตรง
นักประวัติศาสตร์จะค้นพบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เช่น จากบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร (การเขียนหรือการพิมพ์) เช่น จากบันทึกของเฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเป็นคนแรกของโลก เป็นต้น หรือเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันโดยปากเปล่า รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นพบซากสิ่งของต่าง ๆ เช่น สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์รู้จักลายลักษณ์อักษรในยุคหินจะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การบัญญัติศัพท์

คำว่า "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทย เกิดจากการสมาสคำศัพท์ภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำศัพท์ภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้
สำหรับศัพท์ "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทยถูกบัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "History" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "พงศาวดาร" (Chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม[1]
สำหรับคำว่า history ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า Nineteenninetynine

[แก้] ความหมาย

อี. เอช. คาร์ นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง What is History?
"ประวัติศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายที่สำคัญที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1) เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่ง ผ่านมา และ 2) หมายถึงเรื่องราวของบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป
นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)
อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต[2] (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)
ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึง คำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

[แก้] วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจาก นิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ตีความว่าข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง
ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหน? และสามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร? ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความ จริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ? และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์[3]
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
  • การรวบรวมหลักฐาน
  • การคัดเลือกหลักฐาน
  • การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  • การนำเสนอข้อเท็จจริง[4]
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
  • วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
  • การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
  • วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[5]
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้า และสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็น ประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิ เคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่ เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง
สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
  • มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  • มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  • มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  • มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  • มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  • มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  • มีจินตนาการ (Historical imagination) [6]

[แก้] การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่ อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป ในอดีต การให้ความหมายต่อประวัติศาสตร์และประเด็นในการศึกษาประวัติศาสตร์คับแคบก ว่าในปัจจุบัน ธูซิดิดิส (Thucydides ประมาณ 460-395 ปีก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกฟันธงอย่างกล้าหาญว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการ เมืองและเรื่องของรัฐเท่านั้น ไช่เรื่องอื่นใดเลย[7]
โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อ

[แก้] การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่

คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็น เป็นต้น
คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ
คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

[แก้] การศึกษาเฉพาะหัวข้อ

คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้
  • ประวัติศาสตร์การเมือง
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
  • ประวัติศาสตร์สังคม[8]
ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น
  • ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
  • ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง
  • ประวัติศาสตร์การทหาร
  • ประวัติศาสตร์การทูต
  • ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ประวัติศาสตร์สตรี[9]
  • ประวัติศาสตร์ครอบครัว[10]
  • ประวัติศาสตร์เพศวิถี (Sexuality), เพศสภาวะ (Gender)
  • ประวัติศาสตร์สงคราม
  • ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม
  • ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ประวัติศาสตร์การละคร
  • ประวัติศาสตร์นิพนธ์
  • ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม[11]
  • ประวัติศาสตร์อนาคต
  • จุลประวัติศาสตร์ (Microhistory) [12] ฯลฯ

[แก้] สกุลความคิดทางประวัติศาสตร์

  • โรแมนติซิสม์ (Romanticism) [13]
  • โพสต์โมเดิร์น หรือหลังสมัยใหม่ (Post Modern)
ฯลฯ

[แก้] การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์โลก

ความนิยมในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์โลกมักแบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่

[แก้] นักประวัติศาสตร์คนสำคัญ

รังเก นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้กล่าวว่าหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์คือการบอกว่าอะไรได้เกิดขึ้นจริง ๆ เท่านั้น

[แก้] นักประวัติศาสตร์ตะวันตก

[แก้] นักประวัติศาสตร์จีน

  • ซือหม่าเชียน (Si Ma Qian ประมาณ 135-86 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • ปัน กู่ (Ban Gu ค.ศ. 32-92)
  • คังหยู่เหวย (kang Youwei ค.ศ. 1858-1927)
  • จอห์น เค. แฟร์แบงค์ (John K. Fairbank ค.ศ. 1907-1991)
  • เกล เฮอแชทเทอร์ (Gail Hershatter)

[แก้] นักประวัติศาสตร์อินเดีย

  • เซียอุดดิน บาร์นี (Ziauddin Barni ค.ศ. 1285-1357)
  • วินเซนต์ สมิท (Vincent Smith ค.ศ. 1843-1920)
  • เยาว์หราล เนห์รู (Jawaharial Nehru ค.ศ. 1889-1964)
  • พิพาน จันทรา (Bipan Chandra ค.ศ. 1928-ปัจจุบัน)
  • โรมิลา ธาปาร์ (Romila Thapar ค.ศ. 1931-ปัจจุบัน) [14]

[แก้] นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • ดี.จี.อี.ฮอลล์ (D.G.E. Hall ค.ศ. 1891-1979)
  • เบเนดิก แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson ค.ศ. 1936-ปัจจุบัน)
  • เดวิด เค. วัยอาจ (David K. Wyatt ค.ศ. 1937-2006)
  • มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne)
  • เครก เจ. เรย์โนลดส์ (Craig J. Reynolds)
  • บาร์บารา วัดสัน อันดายา (Barbara Watson Andaya)
  • แอนโทนี รีด (Anthony Reid)

[แก้] นักประวัติศาสตร์ไทย

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ผู้แต่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1-4 และหนังสือแสดงกิจจานุกิจ

[แก้] การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2459 มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับ นิสิตในคณะต่าง ๆ (นโยบายนี้ยังปรากฏในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ซึ่งเปิดสอนใน พ.ศ. 2477 ด้วย) ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2466 เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงจัดหลักสูตรสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปาฐกถา เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบรรยายประวัติศาสตร์ไทย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงบรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทย เป็นต้น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงเปิดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยก่อน พ.ศ. 2516 มีสถาบันอุดมศึกษาเพียง 2 แห่งที่เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน)
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่
ส่วนสถานศึกษาของเอกชน ได้แก่
อย่างไรก็ดี การศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยหลังสงครามเย็นที่ ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างมาก สังคมไทยจึงให้ความสนใจกับการเติบโตทางวัตถุเหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาประวัติศาสตร์จึงไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนช่วง พ.ศ. 2516-2535
อนึ่ง นอกจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกแล้ว หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงในงานด้านประวัติศาสตร์ของชาติคือสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยังมีหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนการศึกษาด้านนี้ด้วย แต่การดำเนินงานไม่เป็นที่กว้างขวางและแพร่หลายนักในสังคม เช่น

[แก้] บทความและหนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • คาร์, อี. เอช. (2525). ประวัติศาสตร์คืออะไร. แปลโดย ชาติชาย พณานานนท์. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
  • แดเนียลส์, โรเบอร์ต วี. (2520). ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร และทำไม. แปลโดย ธิดา สาระยา. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
  • ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2546). ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ : ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้. รัฐศาสตร์สาร. 24 (2) : 297-334.
  • ธาวิต สุขพานิช. (2525, กันยายน). ทะลวงกรอบทลายกรง: การพิจารณาเชิงประวัติศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนาคต เวลา ศาสนา และความก้าวหน้าของไทย. ธรรมศาสตร์. 11 (3) : 109-133.
  • ธีระ นุชเปี่ยม. (2552). ประวัติศาสตร์รับใช้ใคร. ใน ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องวัฒนธรรมศึกษา. บรรณาธิการโดย สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. หน้า 10-78. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (เอกสารวิชาการลำดับที่ 82)
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2523). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. (เอกสารวิชาการหมายเลข 14 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์; และ อาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ส021). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). ว่าด้วยการเมืองของประวัติศาสตร์และความทรงจำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2551). ประวัติศาสตร์แห่งชาติ "ซ่อม"ฉบับเก่า "สร้าง"ฉบับใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธาธารณะ.
  • เบนดา, แฮรี่ เจ. (2520, พฤษภาคม-สิงหาคม). โครงสร้างประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. แปลโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์. จุลสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 1 (1) : 11-38.
  • พวงร้อย กล่อมเอี้ยง. (2546). จะเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร. ศึกษาศาสตร์ องครักษ์. 2: 94-102.
  • พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. (2542). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
  • วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • ยงยุทธ ชูแว่น. (2545, มิถุนายน-พฤศจิกายน). ความสำคัญและขอบเขตของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน. อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 25 (1) : 102-114.
  • เรย์โนลด์ส, เครก เจ. (2550). โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. แปลโดย รัชนีพร จันทรอารี. ใน เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ. เรย์โนลด์ส. บรรณาธิการโดย วารุณี โอสถารมย์. หน้า 199-229. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์. (2545). เมื่อประวัติศาสตร์เป็นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาติในเอเชีย. ใน วารสารประวัติศาสตร์. หน้า 2-19. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • สมเกียรติ วันทะนะ. (2531, พฤษภาคม-กรกฎาคม). "สังคมไทย" ในมโนภาพของสี่นักคิดทันสมัย. จดหมายข่าวสังคมศาสตร์. 10 (4) : 91-113.
  • สมเกียรติ วันทะนะ. (2527, กันยายน). สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. ธรรมศาสตร์. 13 (3) : 152-171.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง : รวมบทความเกี่ยวกับ 14 ตุลา และ 6 ตุลา. กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก.
  • สรรนิพนธ์มนุษยศึกษาและสังคมศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศส ศตวรรษที่ 20. (2545). เชียงใหม่: มิ่งเมืองการพิมพ์.
  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. (2522). ความสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 15. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
  • สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2552). ชาตินิยมในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
  • อาร์โนลด์, จอห์น เอช. (2549). ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์. แปลโดย ไชยันต์ รัชชกูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • โอคาชา, ซาเมียร์. (2549). ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป. แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • Burke Peter. (1991). Overture. The New History: Its Past and its Future. In New Perspectives on Historical Writing. pp. 1-24. Cambridge: Polity Press.
  • Collingwood, R. G. (1982). The Idea of History. 21st ed. London: Oxford University Press.
  • Tosh, John. (2002). The Pursuit of History. 3rd. London: Longman.
 คือ การศึกษาเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง จากหลักฐานที่ได้มีบันทึกเก็บไว้ หรือประสบการณ์จากผู้รู้โดยตรง
นักประวัติศาสตร์จะค้นพบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เช่น จากบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร (การเขียนหรือการพิมพ์) เช่น จากบันทึกของเฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเป็นคนแรกของโลก เป็นต้น หรือเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันโดยปากเปล่า รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นพบซากสิ่งของต่าง ๆ เช่น สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์รู้จักลายลักษณ์อักษรในยุคหินจะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การบัญญัติศัพท์

คำว่า "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทย เกิดจากการสมาสคำศัพท์ภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำศัพท์ภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้
สำหรับศัพท์ "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทยถูกบัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "History" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "พงศาวดาร" (Chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม[1]
สำหรับคำว่า history ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า Nineteenninetynine

[แก้] ความหมาย

อี. เอช. คาร์ นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง What is History?
"ประวัติศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายที่สำคัญที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1) เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่ง ผ่านมา และ 2) หมายถึงเรื่องราวของบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป
นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)
อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต[2] (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)
ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึง คำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

[แก้] วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจาก นิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ตีความว่าข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง
ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหน? และสามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร? ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความ จริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ? และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์[3]
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
  • การรวบรวมหลักฐาน
  • การคัดเลือกหลักฐาน
  • การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  • การนำเสนอข้อเท็จจริง[4]
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
  • วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
  • การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
  • วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[5]
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้า และสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็น ประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิ เคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่ เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง
สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
  • มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  • มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  • มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  • มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  • มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  • มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  • มีจินตนาการ (Historical imagination) [6]

[แก้] การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่ อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป ในอดีต การให้ความหมายต่อประวัติศาสตร์และประเด็นในการศึกษาประวัติศาสตร์คับแคบก ว่าในปัจจุบัน ธูซิดิดิส (Thucydides ประมาณ 460-395 ปีก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกฟันธงอย่างกล้าหาญว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการ เมืองและเรื่องของรัฐเท่านั้น ไช่เรื่องอื่นใดเลย[7]
โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อ

[แก้] การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่

คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็น เป็นต้น
คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ
คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

[แก้] การศึกษาเฉพาะหัวข้อ

คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้
  • ประวัติศาสตร์การเมือง
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
  • ประวัติศาสตร์สังคม[8]
ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น
  • ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
  • ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง
  • ประวัติศาสตร์การทหาร
  • ประวัติศาสตร์การทูต
  • ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ประวัติศาสตร์สตรี[9]
  • ประวัติศาสตร์ครอบครัว[10]
  • ประวัติศาสตร์เพศวิถี (Sexuality), เพศสภาวะ (Gender)
  • ประวัติศาสตร์สงคราม
  • ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม
  • ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ประวัติศาสตร์การละคร
  • ประวัติศาสตร์นิพนธ์
  • ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม[11]
  • ประวัติศาสตร์อนาคต
  • จุลประวัติศาสตร์ (Microhistory) [12] ฯลฯ

[แก้] สกุลความคิดทางประวัติศาสตร์

  • โรแมนติซิสม์ (Romanticism) [13]
  • โพสต์โมเดิร์น หรือหลังสมัยใหม่ (Post Modern)
ฯลฯ

[แก้] การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์โลก

ความนิยมในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์โลกมักแบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่

[แก้] นักประวัติศาสตร์คนสำคัญ

รังเก นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้กล่าวว่าหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์คือการบอกว่าอะไรได้เกิดขึ้นจริง ๆ เท่านั้น

[แก้] นักประวัติศาสตร์ตะวันตก

[แก้] นักประวัติศาสตร์จีน

  • ซือหม่าเชียน (Si Ma Qian ประมาณ 135-86 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • ปัน กู่ (Ban Gu ค.ศ. 32-92)
  • คังหยู่เหวย (kang Youwei ค.ศ. 1858-1927)
  • จอห์น เค. แฟร์แบงค์ (John K. Fairbank ค.ศ. 1907-1991)
  • เกล เฮอแชทเทอร์ (Gail Hershatter)

[แก้] นักประวัติศาสตร์อินเดีย

  • เซียอุดดิน บาร์นี (Ziauddin Barni ค.ศ. 1285-1357)
  • วินเซนต์ สมิท (Vincent Smith ค.ศ. 1843-1920)
  • เยาว์หราล เนห์รู (Jawaharial Nehru ค.ศ. 1889-1964)
  • พิพาน จันทรา (Bipan Chandra ค.ศ. 1928-ปัจจุบัน)
  • โรมิลา ธาปาร์ (Romila Thapar ค.ศ. 1931-ปัจจุบัน) [14]

[แก้] นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • ดี.จี.อี.ฮอลล์ (D.G.E. Hall ค.ศ. 1891-1979)
  • เบเนดิก แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson ค.ศ. 1936-ปัจจุบัน)
  • เดวิด เค. วัยอาจ (David K. Wyatt ค.ศ. 1937-2006)
  • มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne)
  • เครก เจ. เรย์โนลดส์ (Craig J. Reynolds)
  • บาร์บารา วัดสัน อันดายา (Barbara Watson Andaya)
  • แอนโทนี รีด (Anthony Reid)

[แก้] นักประวัติศาสตร์ไทย

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ผู้แต่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1-4 และหนังสือแสดงกิจจานุกิจ

[แก้] การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2459 มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับ นิสิตในคณะต่าง ๆ (นโยบายนี้ยังปรากฏในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ซึ่งเปิดสอนใน พ.ศ. 2477 ด้วย) ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2466 เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงจัดหลักสูตรสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปาฐกถา เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบรรยายประวัติศาสตร์ไทย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงบรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทย เป็นต้น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงเปิดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยก่อน พ.ศ. 2516 มีสถาบันอุดมศึกษาเพียง 2 แห่งที่เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน)
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่
ส่วนสถานศึกษาของเอกชน ได้แก่
อย่างไรก็ดี การศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยหลังสงครามเย็นที่ ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างมาก สังคมไทยจึงให้ความสนใจกับการเติบโตทางวัตถุเหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาประวัติศาสตร์จึงไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนช่วง พ.ศ. 2516-2535
อนึ่ง นอกจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกแล้ว หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงในงานด้านประวัติศาสตร์ของชาติคือสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยังมีหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนการศึกษาด้านนี้ด้วย แต่การดำเนินงานไม่เป็นที่กว้างขวางและแพร่หลายนักในสังคม เช่น

[แก้] บทความและหนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • คาร์, อี. เอช. (2525). ประวัติศาสตร์คืออะไร. แปลโดย ชาติชาย พณานานนท์. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
  • แดเนียลส์, โรเบอร์ต วี. (2520). ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร และทำไม. แปลโดย ธิดา สาระยา. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
  • ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2546). ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ : ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้. รัฐศาสตร์สาร. 24 (2) : 297-334.
  • ธาวิต สุขพานิช. (2525, กันยายน). ทะลวงกรอบทลายกรง: การพิจารณาเชิงประวัติศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนาคต เวลา ศาสนา และความก้าวหน้าของไทย. ธรรมศาสตร์. 11 (3) : 109-133.
  • ธีระ นุชเปี่ยม. (2552). ประวัติศาสตร์รับใช้ใคร. ใน ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องวัฒนธรรมศึกษา. บรรณาธิการโดย สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. หน้า 10-78. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (เอกสารวิชาการลำดับที่ 82)
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2523). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. (เอกสารวิชาการหมายเลข 14 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์; และ อาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ส021). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). ว่าด้วยการเมืองของประวัติศาสตร์และความทรงจำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2551). ประวัติศาสตร์แห่งชาติ "ซ่อม"ฉบับเก่า "สร้าง"ฉบับใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธาธารณะ.
  • เบนดา, แฮรี่ เจ. (2520, พฤษภาคม-สิงหาคม). โครงสร้างประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. แปลโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์. จุลสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 1 (1) : 11-38.
  • พวงร้อย กล่อมเอี้ยง. (2546). จะเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร. ศึกษาศาสตร์ องครักษ์. 2: 94-102.
  • พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. (2542). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
  • วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • ยงยุทธ ชูแว่น. (2545, มิถุนายน-พฤศจิกายน). ความสำคัญและขอบเขตของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน. อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 25 (1) : 102-114.
  • เรย์โนลด์ส, เครก เจ. (2550). โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. แปลโดย รัชนีพร จันทรอารี. ใน เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ. เรย์โนลด์ส. บรรณาธิการโดย วารุณี โอสถารมย์. หน้า 199-229. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์. (2545). เมื่อประวัติศาสตร์เป็นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาติในเอเชีย. ใน วารสารประวัติศาสตร์. หน้า 2-19. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • สมเกียรติ วันทะนะ. (2531, พฤษภาคม-กรกฎาคม). "สังคมไทย" ในมโนภาพของสี่นักคิดทันสมัย. จดหมายข่าวสังคมศาสตร์. 10 (4) : 91-113.
  • สมเกียรติ วันทะนะ. (2527, กันยายน). สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. ธรรมศาสตร์. 13 (3) : 152-171.
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง : รวมบทความเกี่ยวกับ 14 ตุลา และ 6 ตุลา. กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก.
  • สรรนิพนธ์มนุษยศึกษาและสังคมศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศส ศตวรรษที่ 20. (2545). เชียงใหม่: มิ่งเมืองการพิมพ์.
  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. (2522). ความสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 15. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
  • สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2552). ชาตินิยมในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
  • อาร์โนลด์, จอห์น เอช. (2549). ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์. แปลโดย ไชยันต์ รัชชกูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • โอคาชา, ซาเมียร์. (2549). ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป. แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • Burke Peter. (1991). Overture. The New History: Its Past and its Future. In New Perspectives on Historical Writing. pp. 1-24. Cambridge: Polity Press.
  • Collingwood, R. G. (1982). The Idea of History. 21st ed. London: Oxford University Press.
  • Tosh, John. (2002). The Pursuit of History. 3rd. London: Longman.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น